สรุปคำบรรยาย เนติภาคค่ำ ตั๋วเงิน สัปดาห์ที่ 9 ชั่วโมงที่ 9 พฤ 23/07/52

859 views
Skip to first unread message

nobita kwang

unread,
Jul 29, 2009, 9:59:46 PM7/29/09
to LAWSIAM
หากเอกสารสรุปคำบรรยายนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้า  kankokub  ขออภัยและน้อมรับแต่เพียงผู้เดียว หากจะมีประโยชน์อยู่บ้างขอมอบให้แก่ ท่านอาจารย์ ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ ผู้บรรยาย   ,  ผู้มีน้ำใจส่ง flie เสียงที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ฟังคำบรรยาย , บิดามารดาข้าพเจ้า ขอบคุณ. http://www.muansuen.com และคุณ admin ที่นำ flie เสียงมาลงแบ่งปันให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ชั่วโมงที่ 9   . w9 (23-07-09)

          วันนี้ก็มีการประชุมคณะกรรมการเนฯ ก็ประชุมทุกเดือน ก็ไม่มีการแก้ไข คะแนนที่เป็นดุลพินิจ แต่จะแก้ในการผิดพรากทางเทคนิค

          วันนี้มาเรื่องตั๋วเงิน ในเรื่องการโอนตั๋วเงิน ทำเข้าใจเบื้องต้นก่อน ว่าองค์ของหนี้คือมีบุคคลสองฝ่ายคือเจ้าหนี้ กับลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้อง

          ซึ่งสืทธินั้นมีการโอนได้ คือการโอนสิทธิเรียกร้อง คือฝ่ายเจ้าหนี้ โอนสิทธิเรียกร้องของตนไปให้แก่บุคคลอื่น เจ้าหนี้เขามีสิทธิ แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ จะทำได้ก็คือ การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้

          ทีนี้การที่เจ้าหนี้จะโอนสิทธิเรียกร้องนั้นเขามีวิธีการโอนสองวิธี วิธีแรกการโอนตามมาตรา 306 คือการโอนหนี้ที่พึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง คือ หนี้ที่มีตัวเจ้าหนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว เช่น ก กู้เงิน ข แน่นอนแล้ว คือ ก , ก ไปทำละเมิด ข แน่นอน ข , ก ไปซื้อสินค้าจาก ข แน่นอน ข หนี้พวกนี้เรียกว่าหนี้ที่พึงชำระแก่เจ้าหนี้เป็นเฉพาะเจาะจง การโอนหนี้ประเภทนี้ก็ทำตามมาตรา 306 คือเจ้าหนี้ผู้โอน กับเจ้าหนี้ผู้รับโอน ( คนใหม่ ) ก็ทำข้อตกลงกัน

          ทีนี้ก็มีหนี้อีกประเภทหนึ่ง คือหนี้ที่ต้องชำระตามเขาสั่ง ดูตามกฎหมายหนี้ก็คือ 309

ถ้าตามกฎหมายตั๋วเงินก็คือมาตรา 917 กับ มาตรา 918

          การโอนตั๋วเงินชนิตระบุชื่อผู้รับเงิน มีในตั๋วเงินทั้งสามประเภท วิธีการโอนเหมือนกันหมด คือ 917 วรรค หนึ่ง  คือสลักหลังและส่งมอบ

          วิธีการสลักหลังทำอย่างไร ก็ ทำได้สองวิธีตามมาตรา 919 คือสลักหลังเฉพาะกับสลักหลังลอย

          คือต้องเขียนในตั๋วเงิน หรือใน ใบประจำต่อ ก็ต้องลงลายมือชื่อ ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงมาตรา 900

          วิธีการสลักหลังมีสองวิธี อันแรกคือสลักหลังเฉพาะ คือระบุชื่อผู้รับประโยชน์ และลงลายมือ ชื่อผู้สลักหลังและส่งมอบ

          นาย ก. เป็นผู้รับเงิน ก็เขียนว่าโอนให้นาย ข และก็ลงชื่อ  นาย ก.ไว้

          กิจการในเรื่องตั๋วเงิน ที่ต้องกระทำที่ด้านหลังเท่านั้นคือสลักหลังลอย คือไม่ได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ตามตัวอย่างเมื่อสักครู่

          นายก เป็นผู้รับเงิน ก็เขียนด้านหลัง ว่า นาย ก เป็นการลงชื่อ นาย ข ไม่ว่าได้รับเช็คมาแบบใดผลเหมือนกัน คือเป็นผู้ทรง ข้อแตกต่างอยู่ตรงไหน

          ก็คือวิธีการที่จะโอนตั๋วเงินฉบับนั้นต่อไป ดูที่มาตรา 920  แต่เมื่อสลักหลังไปแล้ว สิทธิของตั๋วเงินย่อมโอนไป

          ทีนี้วรรคที่สอง บุคคลที่ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอย ถ้าจะโอนตั๋วเงินต่อไปอีก อย่างนี้กระทำได้หลายวิธี ตามมาตรา 920 วรรค 2

          ( 1 ) บอกว่ากรอกความลงไปในที่ว่างด้วยเขียนชื่อตนเองหรือเขียนชื่อของผู้ใดผู้หนึ่ง

คือ หาก ข อยากโอน ให้ ค ก็เขียนชื่อ ค ได้โดยตรง ถามว่า ข ต้องรับผิด หรือไม่ ก็ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ได้ลงลายมือชื่อตน ตามมาตรา 900

          ( 2 ) คือสลักหลังต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย ผู้ได้ก็ จะสลักลอยอีกหรือสลักหลังเฉพาะก็ได้

ข จะโอนเช็คให้ ค สามารถ ลงลายมือชื่อเฉยๆหรือ อาจจะเขียนข้อความว่าโอนให้ ค และเขียนชื่อให้ ค ก็ได้

          ( 3 ) คือโอนตั๋วเงินให้บุคคลภายนอกไปเลย

          ถามว่าแล้วคนโอนต้องรับผิดหรือไม่ก็ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ได้ ลงลายมือชื่อในตั๋ว ฯ

          ดูที่มาตรา 922 การสลักหลังนั้นต้องให้เป็นข้อความปราศจากเงือนไข ถ้ามีข้อความเงื่อนไขนั้นถือเหมือนว่าไม่มีไว้เลย

          เช่น ก สลักหลังโอนเช็คให้ ข  ว่าจะให้มีผลเมื่อ ข สำเร็จการศึกษาเนฯแล้ว ก็เป็นไปตามมาตรา 922 ผลก็คือ ข เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเลย

          การสลักหลังต้องปราศจากเงื่อนไข คล้ายๆ มาตรา 899

          ต่อไปวรรคที่สอง การสลักที่มีเงื่อนไข ถือว่าไม่มีอยู่ แต่ถ้าโอนแต่เพียงบางส่วน คือเป็นโมฆะ ผุ้ทรงยังเป็นผู้โอนอยู่

          วิธีการโอน ตั๋วเงินชนิดผู้ถือ มีได้เฉพาะตั๋วแลกเงินกับเช็คเท่านั้น

          เช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก  ก็เป็นเช็คผู้ถือ  ผู้ที่โอนเช็คผู้ถือ โดยการส่งมอบ ก็ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน ฯ อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติ ก็คงไม่ยอมรับโอนมาลอยๆก็ให้ลงสลักหลังไว้ด้วย การสลักหลังตั๋วผู้ถือ ไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลังนะครับ มาตรา 921 บอกว่าเป็นเพียงประกันอาวัลผู้สั่งจ่าย มาตรา 921 ตั๋วฉบับนั้นต้องเป็นตั๋วผู้ถือเสียก่อน

มีข้อกฎหมายชนิดหนึ่ง ที่อย่าเขว ถามว่า ตั๋วชนิดผู้ถือสมมุติเช็คผู้ถือแล้วมีการขีดคร่อมไว้ หรือเช็คระบุชื่อผู้รับเงินแล้วมีการขีดคร่อมไว้ ตั๋วแบบนี้โอนได้ปกติ เช็คชนิดผู้ถือแล้วมีการขีดคร่อม ถามว่าโอนอย่างไร ก็ส่งมอบเฉยๆตามมาตรา 918

          การขีดคร่อมเช็ค กับการโอนเช็คเป็นคนละเรื่องกัน การขีดคร่อมมีผลอย่างเดียวคือ จะไปใช้เป็นเงินสดกับผู้ทรงไม่ได้ 

ฎ.1015/2532

เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่บริษัท พ. หรือผู้ถือแม้จะมีการขีดคร่อม แต่มิได้ระบุห้ามโอน จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ

ฎ.2485/2523

เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป สั่งจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือ ย่อมเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาขายลดเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวให้โจทก์ โดยได้สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับโอนให้โจทก์และโจทก์ได้ชำระเงินค่าขายลดเช็คให้จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904

 

ฎ.4336/2534

ช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คโจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดย มี ข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้จำเลย ที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็นแต่อย่างใดจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.

          คือข้ออ้างอิงที่ว่าเช็คขีดคร่อมโอนได้ปกติ ทีนี้ไหนๆ เรื่องโอนเช็คผู้ถือแล้ว เช็คชนิดผู้ถือที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว จะโอนให้แก่กันได้หรือไม่

          คำตอบมันก็ยังเป็นเช็คเหมือนเช่นเดิมสภาพของเช็คไม่ได้หมดอายุสามารถโอนต่อไปได้  

ฎ.1043/2534

เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่สามารถโอนเปลี่ยนมือต่อไปได้ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคแรก และวรรคสามบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไขวันที่ลงในเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันรับผิดตามเช็คโดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่แก้ไขนั้น และกรณีมิใช่การตกลงขยายอายุความฟ้องร้อง

 

ฎ.202/2537

          อันนี้ก็เป็นปัญหาเกี่ยวกับเช็คผู้ถือ ประเด็นข้อนี้ก็ไม่ได้เสนอเป็นช้อสอบนานแล้วคือ การโอนตั๋วมีข้อกำหนดว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ เป็นหัวข้อสำคัญนะครับ แบ่งได้สามกรณี  มีอยุ่สามมาตรา ถ้าไม่ทำความเข้าใจก็สับสนว่าแต่ละมาตราต่างกันอย่างไร

          ประการที่หนึ่ง คือตั๋วที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเขียนข้อกำหนดว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ ตามมาตรา 917 ( + 985 ,989 )

          ประการที่สอง ตั๋วเงินที่ผู้สลักหลังเขียนข้อความว่าห้ามเปลี่ยนมือ  มาตรา 923

          ประการที่สาม เช็คขีดคร่อมที่ผู้ทรงเติมคำว่าห้ามเปลี่ยนมือ มาตรา 995 ( 3 ) + 999

มาทำความเข้าใจก่อนอื่นต้องจำลักษณะที่สำคัญก่อน คือตั๋วเงินเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้

          แล้วตั๋วเงินจะไม่สามารถโอนต่อไปได้ด้วยวิธีใด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ บุคคลใดที่กำหนดการห้ามโอนอย่างตั๋วเงิน

          ทำได้หรือไม่ คำตอบก็คือทำได้ กฎหมายก็ให้อำนาจคนให้กำเนิดตั๋วสามารถกำหนด ลักษณะหรือรูปแบบของตั๋วเงินได้ เพราะฉะนั้นคนที่ กำหนด ได้ คือใคร ก็ แค่ คนเดียว คือคนให้กำเนิด

          ส่วนบุคคลที่ฝ่าฝืนการโอน จะเป็นอย่างไร ก็ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

          คนให้กำเนิดตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกผู้ออกตั๋ว ฯ เขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน ข้อสังเกตประการแรกคือต้องเขียนไว้ด้านหน้า

          กฎหมายบอกว่าเขียนคำว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ แต่ถ้าไม่ใช้คำนี้ ใช้คำอื่นก็ได้ ที่ได้ความเป็นทำนองเดียวกัน ขอให้อ่านแล้วได้ความว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ ซึ่งคำที่ศาลได้รับรองไว้คือ เฉพาะบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น , a/c payee only

ฎ.3776/2544

จำเลยกับสหภาพแรงงานทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกในปี 2539 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับไว้ คงกำหนดเพียงว่าสหภาพแรงงานจะไม่เรียกร้องโบนัสประจำปีเป็นระยะเวลา 2 ปี กำหนดระยะเวลานี้จึงหาใช่กำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ แต่เป็นข้อตกลงยอมสละสิทธิการเรียกร้องเรื่องโบนัสภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและไม่มีผลทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ทั้งข้อความที่ว่าจะไม่เรียกร้องเรื่องโบนัสเป็นระยะเวลา 2 ปี แสดงให้เห็นว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องโบนัสไม่ได้มีลักษณะให้ใช้บังคับเฉพาะในปีแรกที่ทำข้อตกลงเท่านั้น กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 12

ข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างฉบับแรก ย่อมมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่วันที่ตกลงกัน หลังจากใช้บังคับครบหนึ่งปีแล้วไม่มีการตกลงกันใหม่ ข้อตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละหนึ่งปี หาใช่สิ้นผลเมื่อใช้บังคับครบ 2 ปี ดังที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ ซึ่งจำเลยได้จ่ายโบนัส สำหรับปี 2539 และปี 2540 แก่ลูกจ้างครบถ้วนแล้ว ครั้นในปี 2541 จำเลยประสบปัญหาขาดทุน จำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงฉบับที่สองกับสหภาพแรงงานโดยไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสเฉพาะปี 2541 เป็นให้จ่ายในอัตราเฉลี่ย 1.29 เท่าของเงินเดือน ส่วนเงื่อนไขการจ่ายโบนัสประการอื่นคงให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม และลูกจ้างทุกคนยอมรับ ถือได้ว่าข้อตกลงฉบับที่สองเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่คู่กรณีทำขึ้นเพื่อแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมฉบับแรก แม้ข้อตกลงฉบับที่สองจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างน้อยกว่าข้อตกลงฉบับแรก ก็มีผลใช้บังคับได้ และเมื่อหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสตามข้อตกลงฉบับที่สอง มีข้อความลักษณะให้ใช้บังคับเฉพาะการจ่ายโบนัสในปี 2541 เท่านั้น จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสตามอายุงานในปี 2539 ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรก มาใช้บังคับแก่การจ่ายโบนัสในปี 2541 ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงฉบับที่สองได้กำหนดไว้ด้วยว่า เงื่อนไขการจ่ายโบนัสในเรื่องอื่นนอกจากหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสดังกล่าวยังคงใช้บังคับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมในฉบับแรก ดังนั้น หลังจาก ข้อตกลงฉบับที่สองใช้บังคับครบกำหนดแล้ว หลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสประจำปี 2541 ตามข้อตกลงฉบับนี้ ย่อมสิ้นผลและไม่อาจนำไปใช้บังคับแก่การจ่ายโบนัสในปี 2542 ได้ ต่อมาในปี 2542 สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับที่สาม กำหนดให้มีผลใช้บังคับ 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา และระบุว่าสภาพการจ้างใดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลงฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตามเดิม โดยไม่ได้กำหนดเรื่องโบนัสไว้เช่นนี้ เกี่ยวกับเรื่องโบนัสในปี 2542 จำเลยจึงผูกพันจะต้องจ่ายโบนัส ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมในฉบับแรก

 

ฎ.2055/2536

เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารคือจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่าA/CPAYEEONLY อันได้ความเป็นทำนองเดียวกับเปลี่ยนมือไม่ได้ลงไว้ที่ด้านหน้าเช็ค แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ออกจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับเงินหรือผู้ทรงก็จะต้องผูกพันตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือโอนโดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือไม่ได้เพราะมาตรา 917 วรรคสอง บัญญัติให้โอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญเพียงวิธีเดียวเพื่อการโอนไม่สมบูรณ์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้

 

          สมมุติด้านหน้ามีข้อความที่ผู้สั่งจ่ายกำหนดว่าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น  คำว่าเฉพาะอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นการห้ามเปลี่ยนมือ เพราะอาจเป็นกรณีเช็คขีดคร่อมเฉพาะก็ได้

          คำว่าเฉพาะไม่มีในตั๋วเงินเขียนเอาไว้ก็ไม่มีผลตามมาตรา 899

ฎ.4975/2533

เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 4 สั่งจ่ายระบุชื่อจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อมระบุไว้กลางเส้นขนานที่ขีดคร่อมว่า "เฉพาะ" ดังนี้ จำเลยที่ 4 อาจประสงค์ให้เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะและให้ใช้เงินแก่ธนาคารตามเช็คก็ได้ ทั้งจำเลยที่ 4 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าในทางปฏิบัติหรือประเพณีของธนาคารเป็นที่ยอมรับกันว่าเช็คที่ใช้ถ้อยคำเช่นนี้ห้ามมิให้เปลี่ยนมือ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำอื่นอันได้ความทำนองเดียวกับคำว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ข้อความดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน จึงหามีผลต่อเช็คพิพาทไม่ตามมาตรา 899 เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คนั้นมาขายลดให้โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สลักหลัง ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 989จึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียม แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 4 จำกัดอยู่เพียงไม่เกินจำนวนเงินในเช็คพิพาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเท่านั้น ซึ่งโจทก์ทราบดีตั้งแต่ตอนต้น ฉะนั้น การที่จะให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเกินไปกว่านี้ย่อมเป็นการไม่ยุติธรรมต่อจำเลยที่ 4แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างได้ด้วย.

 

          ตั๋วเงินที่สั่งว่าเปลี่ยนมือไม่ได้แล้วผู้รับเงินฝ่าฝืนคำสั่งหล่ะ สมมุติว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คว่าผุ้ทรงเปลี่ยนมือไม่ได้ แล้ว ก สลักหลังส่งมอบเช็คให้ ข ข ไปเรียกเก็บเงิน ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดหรือไม่ แน่นอนไม่ต้องรับผิด ถามว่า ก ที่ฝ่าฝืนต้องรับผิดหรือไม่ อย่าพึ่งรู้คำตอบ ขอฟังในพฤ หน้า   

         

 

Reply all
Reply to author
Forward
0 new messages