ชมภาพสวยจากเวทีประกวดภาพ นกหายากนานาชาติ ฉลอง “ปีสากลความหลากหลายทางชีวภาพ” ที่เพิ่งผ่านไป โดยภาพชนะเลิศทั้งหมด จะตีพิมพ์ลงหนังสือภาพเผยแพร่ในปี 2012
การประกวดภาพถ่ายนานาชาติในหัวข้อ “นกหายากที่สุดในโลก” (World's Rarest Birds) นั้นเป็นส่วนหนึ่งกิจกรรมจากโครงการปกป้องการสูญพันธุ์ (Preventing Extinctions Programme) ขององค์กรเบิร์ดไลฟ์อินเตอร์เนชันนัล (BirdLife International) ซึ่งเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งเป็นปีที่สหประชาชาติ (United Nations) กำหนดให้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Year of Biodiversity)
ผลการประกวดเพิ่งประกาศผู้ได้รางวัลชนะเลิศในปี 2011 นี้ โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ ภาพนกชนิดใกล้สูญพันธุ์หรือไม่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ภาพนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ และภาพนกอพยพที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ ทั้งนี้ภาพที่ชนะเลิศทั้งหมดจะตีพิมพ์เป็นสมุดภาพเผยแพร่ในปี 2012 ในชื่อ “เดอะ เวิร์ลดส แรเรสต์ เบิร์ดส” (The World’s Rarest Birds)
สมุดภาพดังกล่าวจะนำเสนอภาพนก 628 ชนิด ซึ่งเป็นนกใกล้สูญพันธุ์ 372 ชนิด นกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ 190 ชนิด อีก 4 ชนิดที่มีอยู่ในกรงขังเท่านั้นและอีก 62 ชนิดซึ่งมีข้อมูลไม่เพียงพอ โดยในสมุดภาพดังกล่าวจะระบุข้อมูลสิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อนกเหล่านั้น และวิธีที่เราจะช่วยกันอนุรักษ์
|
|
ภาพนกช้อนหอยหงอน (Asian crested ibis) หรือ นิปโปเนีย นิปปอน (Nipponia nippon) ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์ เมื่อก่อนเคยมีอยู่ทั่วรัสเซีย ญี่ปุ่น และจีน แต่ปัจจุบันประชากรของนกชนิดนี้ได้ลดลงเหลือราว 250 ตัว ในมณฑลส่านซีของจีนเท่านั้น เนชันนัลจีโอกราฟิกอ้างข้อมูลจากเว็บไซต์โครงการนกหายากของโลกว่า ปัจจัยคุกคามนกชนิดนี้อาจมาจากการทำเกษตรกรรม ซึ่งลดปริมาณอาหารของนกชนิดนี้: ภาพโดย เฉวียน หมิน หลี (Quan Min Li)
| |
|
|
|
ภาพเป็ดปากยาวข้างลาย (scaly-sided merganser) 2 ตัวขณะแล่นไปแล่นไปบนน้ำ เป็นภาพรองชนะเลิศอันดับ 5 ในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งการสูญเสียที่อยู่อาศัยและการล่าอย่างผิดกฎหมายได้ลดประชากรนกชนิดนี้เหลืออยู่ในรัสเซียและจีนเพียงแค่ประมาณ 2,500 ตัว: ภาพโดย มาร์ติน เฮล (Martin Hale)
| |
|
|
|
ภาพนกฮูกป่า (forest owlet) ในอินเดียตอนกลาง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ นกชนิดนี้อาศัยอยู่ในป่าซึ่งถูกบุกรุกอย่างหนักจนป่าถูกแบ่งออกเป็นผืนเล็กผืนน้อย และถิ่นที่อยู่ของนกชนิดนี้ยังคงถูกบุกรุกอย่างต่อเนื่อง: ภาพโดย เจย์เอช เค.โจชิ (Jayesh K. Joshi)
| |
|
|
|
ภาพนกกระเรียนมงกุฎแดง (Red-crowned crane) เป็นภาพรองชนะเลิศในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์ โดยนกกระเรียนในภาพนี้กำลังแสดงท่าทางเกี้ยวพาราสีระหว่างหาคู่ แม้ว่าประชากรของนกชนิดนี้ในญี่ปุ่นจะยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่ประชากรทั่วเอเชียซึ่งเป็นพื้นส่วนใหญ่กำลังลดลงไปตามถิ่นอาศัยที่ลดลง รวมถึงการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำไปเพื่อการเกษตรและการพัฒนา: ภาพโดย ฮัวจิน ซัน (Huajin Sun)
| |
|
|
|
ภาพนกแก้วท้องส้ม (Orange-Bellied Parrot) ที่ชนะเลิศในหมวดนกอพยพที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ นกแก้วพันธุ์เล็กชนิดนี้จะผสมพันธุ์เฉพาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของทาสมาเนียเท่านั้น จากนั้นจะอพยพไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียในช่วงฤดูหนาว ซึ่งถิ่นที่อยู่ระหว่างหนีหนาวของนกชนิดนี้ถูกบุกรุกจากการเกษตรและการพัฒนา ประมาณว่าเหลือนกแก้วท้องส้มอยู่ในธรรมชาติน้อยกว่า 150 ตัว: ภาพโดย เดวิด บอยล์ (David Boyle)
| |
|
|
|
ภาพนกแก้วคาคาโป (Kakapo) ซึ่งชนะเลิศการประกวดในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ นกแก้วขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้นี้พบได้ในนิวซีแลนด์เท่านั้น และเหลืออยู่ในธรรมชาติเพียง 124 ตัว โดยนกชนิดนี้ถูกกำจัดไปอย่างรวดเร็วจากนักล่าที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมวป่า เป็นต้น: ภาพโดย เชน แมคอินน์ส (Shane McInnes)
| |
|
|
|
ภาพนกฮัมมิงเบิร์ดมรกตฮอนดูรัส (Honduran Emerald) บนกิ่งไม้ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ พบนกชนิดนี้ได้เฉพาะในฮอนดูรัส โดยประชากรนกชนิดนี้กำลังลดลงเนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่: ภาพโดย โรเบิร์ต อี.ไฮแมน (Robert E. Hyman )
| |
|
|
|
ภาพนกปาลิลา (Palila) ในฮาวาย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 6 ในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ ปัจจัยจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่ การล่าโดยสัตว์ตระกูลแมวและความแห้งแล้งนำไปสู่การลดลงของประชากรนกชนิดนี้ในฮาวาย คาดว่าในอีก 14 ปีข้างหน้าจำนวนนกชนิดนี้จะลดลงถึง 97% : ภาพโดย อีริค เอ.แวนเดอร์เวิร์ฟ (Eric A. VanderWerf)
| |
|
|
|
ภาพนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส (Christmas Island Frigatebird) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ โดยพบนกชนิดนี้ได้เฉพาะบนเกาะคริสต์มาส (Christmas Island) ของออสเตรเลีย และนกชนิดกำลังหายไปจากเกาะเนื่องจากการสูญเสียที่อยู่อาศัย การทำเหมืองฟอสเฟต มลพิษทางทะเล การทำประมงเกินขนาด และอีกหลายสาเหตุ: ภาพโดย เดวิด บอยล์ (David Boyle)
| |
|
|
|
เป็ดกินปลาบราซิล (Brazilian Merganser) พร้อมกับลูกเป็ดตัวเล็กๆ เป็นภาพที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหมวดนกที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์จากธรรมชาติ ซึ่งภาพนี้แสดงถึงความหวังต่อการอยู่รอดของสปีชีส์นี้ และชี้ว่าสถานการณ์ของเป็ดกินปลาบราซิลดีขึ้นกว่าที่คิดไว้: ภาพโดย ซาวิโอ เฟรียร์ บรูโน (Savio Freire Bruno)
| |
|
|
|
ภาพนกบัสตาร์ดใหญ่อินเดีย (Great Indian Bustard) ขณะบินได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์หรือไม่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งการล่าเพื่อเป็นกีฬาและอาหารในอินเดียทำให้นกชนิดนี้เสี่ยงสูญพันธุ์: ภาพโดย ซาบา บาร์คอคซี (Csaba Barkoczi)
| |
|
|
|
ภาพ นกฮัมมิงเบิร์ดหางติ่ง (Marvellous Spatuletail) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ในหมวดนกชนิดใกล้สูญพันธุ์หรือไม่มีข้อมูลไม่เพียงพอ ประมาณกันว่าเหลือนกชนิดนี้ไม่ถึงพันตัว และการลดลงของประชากรนกสวยงามนี้เป็นผลจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกกัญชา และกาแฟ : ภาพโดย แดเนียล โรสเอนเกรน (Daniel Rosengren) ภาพประกอบทั้งหมดจากเนชันนัลจีโอกราฟิก
| |
|
|