Groups
Conversations
All groups and messages
Send feedback to Google
Help
Training
Sign in
Groups
iLoVeDoWnLoAd
Conversations
About
ทำบุญกับพระปลอมได้ขึ้นสวรรค์ ทำบุญกับพระอรหันต์กลับตกนรก
220 views
Skip to first unread message
Dong
unread,
Oct 5, 2010, 8:15:08 PM
10/5/10
Reply to author
Sign in to reply to author
Forward
Sign in to forward
Delete
You do not have permission to delete messages in this group
Copy link
Report message
Show original message
Either email addresses are anonymous for this group or you need the view member email addresses permission to view the original message
to th...@googlegroups.com
ทำบุญกับพระปลอมได้ขึ้นสวรรค์ ทำบุญกับพระอรหันต์กลับตกนรก
เป็นเรื่องจริงอิงตามหลักพุทธ
อ่านให้เข้าใจเวลาทำบุญจะได้ไม่เคลือบแคลง
ปรับเจตนาให้เป็น บุญย่อมสำเร็จตามประสงค์
สามีภรรยาคู่หนึ่ง เป็นคนยากจนมาก
หาเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน เดินทางมาอาศัย
อยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง
ในขณะที่พักอยู่นั้น ภรรยาซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้อง
อยากจะบริโภคอาหารที่พระราชาเสวย จึงอ้อนวอนสามีให้ไปหามาให้
บอกว่าหากมิได้บริโภคอาหารที่ต้องการนี้จะต้องตายเป็นแน่แท้
ฝ่ายสามีผู้มีกรรมทนคำอ้อนวอนต่อไปไม่ไหว
และเกรงว่านางจักตาย จึงคิดอุบายปลอมตัวเป็นพระภิกษุ
และด้วยความที่ปลอมตัวมาใหม่ๆ จึงระมัดระวังตัวมาก
ดูเหมือนเป็นผู้สำรวม เดินอุ้มบาตรไปใน
พระราชวัง เพื่อรับบิณฑบาต
ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระราชาจักเสวยพระกระยาหารพอดี
เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุเดินด้วยกิริยาอาการสำรวมมากเช่นนั้น
ทรงจินตนาการว่า
" ภิกษุนี้มีกิริยาอาการสำรวมน่าเลื่อมใสเป็นหนักหนา คงเป็นพระที่ทรงคุณวิเศษสักอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแม่นมั่น "
จึงเกิดพระราชศรัทธา ทรงนำพระกระยาหารอันเลิศรสที่จะเสวย
ใส่ลงในบาตรจนหมด ด้วยจิตที่เลื่อมใสยิ่ง
เมื่อพระภิกษุปลอมรับอาหารแล้วเดินจากไป
ด้วยความเลื่อมใสอันมีอยู่มากมายในพระทัยของพระราชา
จึงรับสั่งอำมาตย์คนสนิทให้รีบสะกดรอยตามไป
เพื่อให้รู้ว่าพระท่านมาจากไหน จะไปพักที่ไหน
เพื่อว่าวันต่อไปจะนิมนต์มารับบาตรในพระราชวังอีก
ฝ่ายพระภิกษุปลอมนั้น เมื่อได้อาหารเต็มบาตรสมความปรารถนาแล้ว
ก็ดีใจ รีบเดินไปจนสุดกำแพงพระราชวัง
เมื่อเห็นว่าปลอดผู้คนแล้ว จึงเปลื้องจีวรและสบงออกเป็นเพศคฤหัสถ์ตามเดิม
แล้วนำเอาพระกระยาหารนั้น ไปให้ภรรยาแพ้ท้องบริโภคตามความประสงค์
อำมาตย์ซึ่งสะกดรอยติดตามมาได้เห็นพฤติการณ์นั้นโดยตลอด
ก็บังเกิดความตกใจและสังเวชใจคิดว่ามาเจอคนที่ปลอมตัวเป็นพระเสียแล้ว
จึงเข้าไปหวังจะจับไปรับโทษ แต่ด้วยความสงสาร
จึงทำได้เพียงขับไล่สามีภรรยานั้นไป และห้ามกลับมาที่เมืองนี้อีกเป็นเด็ดขาด
หลังจากนั้นก็เดินทางกลับไปเฝ้าพระราชา
พระราชาจึงตรัสถามว่า
" ได้ความว่าอย่างไร บอกมาเร็วๆ พระนั้นอยู่วัดไหน ? "
อำมาตย์จึงใช้กุศโลบายเพื่อ รักษาศรัทธาของพระราชาไว้
กราบทูลว่า
" ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ
ข้าพระพุทธเจ้าได้สะกดรอย ตามพระรูปนั้นไป
จนออกนอกกำแพงพระราชวัง
พอตามไปสุดพระราชวังโน้น ท่านก็หายวับไปทันที "
( ในที่นี้ หมายถึงหายจากความเป็นพระกลายเป็นคฤหัสถ์ไป )
พระราชาได้ฟังดังนั้นทรงโสมนัสมาก
มิได้ซักความเพิ่มเติมอีก ทรงคิดเอาเองว่า
" บุญของเราแท้ๆ ที่ได้ ถวายทานแด่พระอรหันต์ทรงคุณวิเศษ
ท่านเป็นพระอรหันต์จริงๆ ปาฎิหาริย์หายตัวได้
ทานที่ได้ถวายท่านในวันนี้มีอานิสงส์มาก
เป็นทานที่ประเสริฐอย่างแน่ๆ "
พระราชาทรงบังเกิดความปีติเบิกบานใจในบุญที่ได้ทำเป็นยิ่งนัก
ไม่นานหลังจากนั้นพระราชาก็เสด็จสวรรคต
ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
และก่อนที่จะสวรรคต พระองค์ได้ทรงกำชับเหล่าอำมาตย์ไว้ว่า
เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว ให้ทำบุญอุทิศกุศลเพื่อเจาะจงพระองค์ด้วย
ในคราวนั้นได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งเพิ่งออกจากญาณสมาบัติ
ได้เที่ยวจาริกไปในพระนครเพื่อบิณฑบาต
อำมาตย์คนเดิมได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น
ก็ได้นิมนต์ท่านเข้าไปรับภัตตาหารในพระราชวัง
แต่ในใจก็รู้สึกคลางแคลงสงสัยในพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้นตลอดเวลา
เนื่องจากครั้งก่อนเจอพระปลอมบวชเข้า
จึงเกรงว่าในครั้งนี้ก็จะเป็นพระปลอมบวชเช่นกัน
โดยหารู้ไม่ว่า ภิกษุที่ตนได้ถวายภัตตาหารอยู่นั้นคือ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้สิ้นกิเลสอาสวะแล้วสิ้นเชิง
เหล่ามหาอำมาตย์นั้น ได้ประมาทแล้วในพระอริยบุคคลโดยไม่รู้ตัว
เพราะบุคคลไม่อาจทราบได้ว่า
ภิกษุรูปใดเป็นอริยะบุคคลหรือไม่เป็นอริยะบุคคลหรือเป็นผู้ทุศีล
(เหตุเพราะว่าพระอริยะบุคคลใดก็ตาม
ท่านจะไม่สามารถประกาศได้ว่าตนนั้นเป็นอริยะบุคคลแล้ว)
ฉะนั้นการถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งนี้นอกจากจะไม่เกิดกุศลแล้ว
ยังทำให้อำมาตย์นั้นได้หนทางไปสู่อบายในโลกหน้าโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน ฉฬังคทานสูตร จตุตถวรรคแห่งปฐมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย ว่า
" ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ คือ
องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง
องค์ของผู้รับ ๓ อย่าง
องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง ( เจตนา ๓ ) คือ
๑. ก่อนให้ก็ดีใจ
๒. กำลังให้ก็มีใจผ่องใส
๓. ครั้งให้เสร็จแล้วมีความเบิกบานใจ
องค์ของผู้รับ(ปฎิคาหก) ๓ อย่าง คือ
๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีราคะ
๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีโทสะ
๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีโมหะ
ทานที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๖ ประการนี้
เป็นบุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ยิ่งใหญ่นัก
เหมือนน้ำในมหาสมุทร นับหรือคำนวณไม่ได้ว่ามีขนาดเท่าใด
ทานที่พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ ย่อมเป็นที่หลั่งไหลแห่งบุญ
หลั่งไหลแห่งกุศล นำความสุขมาให้ให้อารมณ์เลิศด้วยดี
มีวิบากเป็นสุข เป็นไปพร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในสวรรค์
( มีบุญที่สะสมไว้ดีแล้ว มากพอที่จะเกิดในสวรรค์ )
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ "
..................................................................
พระราชาพระองค์นี้มีเจตนาทั้ง ๓ ระยะครบบริบูรณ์
และมีความเข้าใจว่าปฎิคาหก(ผู้รับ)สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบ ๓
ผลบุญที่ได้จึงมากมาย ส่งผลให้พระราชาเมื่อถึงคราวสวรรคตแล้ว
ได้ไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์
ยิ่งถ้าหากพระรูปนั้นเป็นพระจริง และปฎิบัติตามองค์ของผู้รับ ๓ ได้อย่างสมบูรณ์
ผลบุญที่พระราชาได้จะมากมายมหาศาลยิ่งขึ้น
เพราะทำทานครบองค์ ๖ ซึ่งจะให้ผลมากนับประมาณมิได้
--
ความดีก็เหมือนกางเกงใน ต้องมีติดตัวไว้แต่ไม่ต้องเอามาโชว์
Reply all
Reply to author
Forward
0 new messages