สงสัยเรื่องการแปลนิดนึงครับ

35 views
Skip to first unread message

Sira Nokyoongtong

unread,
Jan 20, 2010, 11:00:08 PM1/20/10
to thai...@googlegroups.com
สงสัยเรื่องการแปลนิดนึงครับ

- การแปลชื่อโปรแกรม เช่น Firefox เป็น ไฟร์ฟอกซ์ เลยถูกไหม แล้วพวกชื่อโปรแกรมเหล่านี้ผมสามารถอ้างอิงได้ที่ไหนว่า ภาษาไทยมันเขียนยังไง
- แต่อย่าง gedit ผมเคยเห็นในเมนูของ debian มันเป็น "โปรแกรมแก้ไขข้อความ" ซึ่งมันดูจะเป็นคำอธิบายโปรแกรมมากกว่าชื่อโปรแกรม (เข้าใจในแง่การใช้งาน แต่ผมมองว่ามันเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ เหมือนที่เราแปล windows ว่า วินโดวส์ ไม่ได้แปลว่า หน้าต่าง)
- ก็เลยคิดว่า ชื่อโปรแกรมน่าจะแปลตามชื่อโปรแกรมหมดเลยไม๊ เช่น เอโวลูชั่น, เอ็มพาที, จีเอดิ (หรือจีอีดิท หรือมันอ่านว่าอะไร)
- ของที่เป็น service ควรแปลยังไง ubuntu one เป็น "อูบุนตูวัน" แบบนี้เลยหรือเปล่า

kowit charoenaratchatabhan

unread,
Jan 20, 2010, 11:22:48 PM1/20/10
to thai...@googlegroups.com

ผมมองว่าถ้ามันเป็นชื่อเฉพาะก็น่าจะเรียกทับศัพท์นะ

--
You received this message because you are subscribed to the Google Groups "Thai Localization Group" group.
To post to this group, send email to thai...@googlegroups.com
To unsubscribe from this group, send email to thai-l10n-...@googlegroups.com
For more options, visit this group at http://groups.google.co.th/group/thai-l10n?hl=en
Visit homepage at http://l10n.opentle.org

Puwadej Potitappa

unread,
Jan 20, 2010, 11:32:33 PM1/20/10
to thai...@googlegroups.com
พวกชื่อโปรแกรม ผมขอเสนอว่า อย่าแปลเลยครับ ใช้เป็นภาษาอังกฤษ อย่างเดิมดีที่สุดครับ เพราะ
1. การเปลี่ยนเป็นไทยทับศัพท์ ก็แค่ทำให้รู้สึกว่าเป็นภาษาไทย แต่อ่านแล้วก็ยังเป็นอังกฤษอยู่นั่นเอง
2. ยังทำให้มีปัญหาเกี่ยวการอ้างอิงต่างๆในทางโปรแกรม

ภูวเดช

2010/1/21 kowit charoenaratchatabhan <kow...@gmail.com>

Menn (Chris)

unread,
Jan 20, 2010, 11:52:06 PM1/20/10
to thai...@googlegroups.com
แล้วถ้าเป็นคนไทยที่อ่านภาษาอังกฤษไม่ออกล่ะครับ?

เม่น

Theppitak Karoonboonyanan

unread,
Jan 21, 2010, 12:01:55 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
2010/1/21 Sira Nokyoongtong <gum...@gmail.com>:

> - การแปลชื่อโปรแกรม เช่น Firefox เป็น ไฟร์ฟอกซ์ เลยถูกไหม
> แล้วพวกชื่อโปรแกรมเหล่านี้ผมสามารถอ้างอิงได้ที่ไหนว่า ภาษาไทยมันเขียนยังไง

ผมเห็นว่าใช้ตัวโรมันเหมือนเดิมเลยดีกว่า ถ้าเป็นชื่อเฉพาะ
เพื่อป้องกันปัญหาวิธีออกเสียงในโปรแกรมหลาย ๆ ตัว
ซึ่งพอแปลแล้วอาจไม่สื่อความว่าเป็นโปรแกรมเดียวกัน

> - แต่อย่าง gedit ผมเคยเห็นในเมนูของ debian มันเป็น "โปรแกรมแก้ไขข้อความ"
> ซึ่งมันดูจะเป็นคำอธิบายโปรแกรมมากกว่าชื่อโปรแกรม (เข้าใจในแง่การใช้งาน
> แต่ผมมองว่ามันเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ เหมือนที่เราแปล windows ว่า วินโดวส์
> ไม่ได้แปลว่า หน้าต่าง)

ในกรณีของ gedit นั้น เป็นเพราะ GNOME ต้นฉบับกำหนดเมนูมาอย่างนี้ครับ
คือไม่ได้ใช้ชื่อเฉพาะของโปรแกรม แต่ใช้ชื่อแบบบรรยาย เพราะ GNOME
มีการเลือกโปรแกรมต่าง ๆ ในเซ็ตมาตรฐานไว้แล้ว เช่น text editor จะเป็น
gedit, เว็บเบราว์เซอร์จะเป็น epiphany ฯลฯ

นี่พูดถึง official GNOME นะครับ เดี๋ยวจะมีปัญหากันอีก ว่าแล้ว leafpad,
firefox/iceweasel หายไปไหน.. ตรงนั้นไม่ได้อยู่ในชุด official GNOME
ก็ใช้ชื่อเฉพาะไป

> - ก็เลยคิดว่า ชื่อโปรแกรมน่าจะแปลตามชื่อโปรแกรมหมดเลยไม๊ เช่น เอโวลูชั่น,
> เอ็มพาที, จีเอดิ (หรือจีอีดิท หรือมันอ่านว่าอะไร)

ผมเห็นว่า ถ้าต้นฉบับเขามาเป็นชื่อทั่วไป (เช่น gedit, epiphany) ก็แปลครับ
แต่ถ้าเป็นชื่อเฉพาะ (เช่น firefox, iceweasel, pidgin) ก็ไม่ควรแปลครับ

ปัจจุบัน มีโปรแกรมที่ฝืนกฎนี้อยู่บ้าง เช่น Anjuta ซึ่งผมเองก็คิดจะแก้ให้เป็น
ตัวโรมันอยู่เหมือนกัน

> - ของที่เป็น service ควรแปลยังไง ubuntu one เป็น "อูบุนตูวัน"
> แบบนี้เลยหรือเปล่า

ผมคิดว่าน่าจะเป็นตัวโรมันครับ จะมียกเว้นบ้าง ก็กรณีที่ใช้กันแพร่หลายแล้วจริง ๆ
เช่น "ลินุกซ์" (แต่ความจริงก็ยังลักลั่นอยู่
หนังสือพิมพ์บางฉบับเขียนเป็น "ลินิกซ์"
ตลอด ซึ่งไม่เหมือนกับเรา)

เทพ.
--
Theppitak Karoonboonyanan
http://linux.thai.net/~thep/

Puwadej Potitappa

unread,
Jan 21, 2010, 12:19:23 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
คำว่าตัวโรมัน คืออักษร alphabet ในภาษาอังกฤษ ใช่ไหมครับ

ภูวเดช


2010/1/21 Theppitak Karoonboonyanan <thep...@gmail.com>

Theppitak Karoonboonyanan

unread,
Jan 21, 2010, 12:21:12 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
2010/1/21 Puwadej Potitappa <puwadej....@gmail.com>:

> คำว่าตัวโรมัน คืออักษร alphabet ในภาษาอังกฤษ ใช่ไหมครับ

ใช่ครับ หมายถึงใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษไปเลย
ไม่ต้องพยายามแปลหรือทับศัพท์เป็นภาษาไทย

akom c.

unread,
Jan 21, 2010, 1:25:42 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com

> - ก็เลยคิดว่า ชื่อโปรแกรมน่าจะแปลตามชื่
อโปรแกรมหมดเลยไม๊ เช่น เอโวลูชั่น,
> เอ็มพาที, จีเอดิ (หรือจีอีดิท หรือมันอ่านว่าอะไร)

ผมเห็นว่า ถ้าต้นฉบับเขามาเป็นชื่อทั่วไป (เช่น gedit, epiphany) ก็แปลครับ
แต่ถ้าเป็นชื่อเฉพาะ (เช่น firefox, iceweasel, pidgin) ก็ไม่ควรแปลครับ

ปัจจุบัน มีโปรแกรมที่ฝืนกฎนี้อยู่บ้าง เช่น Anjuta ซึ่งผมเองก็คิดจะแก้ให้เป็น
ตัวโรมันอยู่เหมือนกัน

> - ของที่เป็น service ควรแปลยังไง ubuntu one เป็น "อูบุนตูวัน"
> แบบนี้เลยหรือเปล่า

ผมคิดว่าน่าจะเป็นตัวโรมันครับ จะมียกเว้นบ้าง ก็กรณีที่ใช้กันแพร่หลายแล้วจริ
ง ๆ
เช่น "ลินุกซ์" (แต่ความจริงก็ยังลักลั่นอยู่
หนังสือพิมพ์บางฉบับเขียนเป็น "ลินิกซ์"
ตลอด ซึ่งไม่เหมือนกับเรา)

เทพ.

ในแง่หลักการที่จะคงคำเดิมไว้มันก็ดีครับ แต่พอคำนึงผู้ใช้ทั่วไปที่ อ่านไม่ออก
หรืออ่านผิดหลักการ รวมถึงผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเรียนภาษาฯ มาก่อนด้วยครับ


เมื่อ มกราคม 21, 2010 11:52 ก่อนเที่ยง, Menn (Chris) <me...@imenn.com> เขียนว่า:

แล้วถ้าเป็นคนไทยที่อ่านภาษาอังกฤษไม่ออกล่ะครับ?

เม่น

กรณีนี้เคยเจอกับลูกน้อง(ช่างซ่อมรถในบริษัท) อ่านคำว่า setup เป็น "ซี-ทับ"  อีกคำนึง login อ่าน
เป็น "โล-จิ้น"

ถ้าคำนึงถึงผู้ใช้ ก็เลือกสะกดทับศัพท์
 

Puwadej Potitappa

unread,
Jan 21, 2010, 1:41:44 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
กรณีกลัวว่าคนไทยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษจะไม่เข้าใจ ถ้าใช้ชื่อโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษ

ผมคิดว่าชื่อโปรแกรมมีไม่มากนัก แล้วยังเป็นคำเฉพาะ ไม่ได้มีความหมายในเชิงอธิบายการใช้งาน จึงควรจะใช้ภาษาอังกฤษตามที่เจ้าของซอฟท์แวร์ตั้งชื่ออกมา ส่วนคนไทยที่อ่านชื่อไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นโอกาสพัฒนาตัวเองขึ้นครับ โดยไปหัดอ่านภาษาอังกฤษ เฉพาะชื่อโปรแกรมที่ใช้อยู่ให้ได้ ผมว่าน่าจะไม่เกินความสามารถของพวกเขาหรอกครับ

ภูวเดช

2010/1/21 akom c. <knigh...@gmail.com>

Theppitak Karoonboonyanan

unread,
Jan 21, 2010, 2:57:10 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
2010/1/21 Puwadej Potitappa <puwadej....@gmail.com>:

> กรณีกลัวว่าคนไทยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษจะไม่เข้าใจ
> ถ้าใช้ชื่อโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษ
> ผมคิดว่าชื่อโปรแกรมมีไม่มากนัก แล้วยังเป็นคำเฉพาะ
> ไม่ได้มีความหมายในเชิงอธิบายการใช้งาน
> จึงควรจะใช้ภาษาอังกฤษตามที่เจ้าของซอฟท์แวร์ตั้งชื่ออกมา
> ส่วนคนไทยที่อ่านชื่อไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นโอกาสพัฒนาตัวเองขึ้นครับ
> โดยไปหัดอ่านภาษาอังกฤษ เฉพาะชื่อโปรแกรมที่ใช้อยู่ให้ได้
> ผมว่าน่าจะไม่เกินความสามารถของพวกเขาหรอกครับ

เรื่องโอกาสในการเรียนรู้นี้ ผมไม่คิดว่าเป็นประเด็นสักเท่าไรครับ
เพราะการอ่านชื่อเฉพาะได้นั้น ก็ไม่ได้ให้ทักษะทางภาษาที่เป็น
ประโยชน์โดยตรงสักเท่าไรนัก และเขาสามารถเปลี่ยนภาษา
ให้เป็นอังกฤษได้ ถ้าต้องการจริง ๆ

ประเด็นที่ผมห่วงมากกว่า คือชื่อที่หาข้อสรุปได้ยากครับ

ถ้าจะว่าไป ผมลองกลับมานึกถึงสินค้าต่าง ๆ ที่วางขาย
ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก นมกล่อง ปลากระป๋อง
มักจะมีฉลากอย่างน้อยสองภาษาเสมอ ด้านหนึ่งภาษาไทย
อีกด้านเป็นภาษาอังกฤษ กล่าวคือ มีการตั้งชื่อเป็นภาษา
ท้องถิ่นด้วยเรียบร้อย ถ้าซอฟต์แวร์จะทำอย่างนั้นด้วย
ก็คงไม่แปลกมากนัก แต่ประเด็นคือ:

สินค้าเหล่านั้น แปลเป็นไทยโดยตัวแทนจำหน่ายที่มี
authority แต่เพียงผู้เดียว การสะกดของเขากลายเป็น
มาตรฐาน มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเรียบร้อย
คนอื่นต้องสะกดตามเขา แต่ชื่อซอฟต์แวร์ ถูกเรียกโดย
ภาคส่วนต่าง ๆ โดยไม่มีใครชี้ขาดว่าอันไหนเป็นมาตรฐาน
ตัวอย่างเช่น ลินุกซ์ ยังมีคนเรียกว่า ลินิกซ์ หรือ ลีนุกซ์
หรือ ไลนักซ์ หรือกระทั่ง ลินักซ์ จนกระทั่ง รถ. บัญญัติว่า
ลินุกซ์ จึงเป็นที่ยุติ (ยกเว้นสื่อมวลชนบางแห่งที่ยังยืนยันเรียก
"ลินิกซ์" ต่อไป)

ชื่อของ firefox อาจจะเขียนเป็น "ไฟร์ฟ็อกซ์" แต่ผมก็ยังเห็น
บางคนบอกว่าไม่ถูก ที่ถูกต้องเป็น "ไฟเออร์ฟ็อกซ์" หรือ
"ไฟเยอร์ฟ็อกซ์" แต่กรณีนี้ยังไม่มีแพร่หลายในสื่อมวลชน

ชื่อบางชื่อมาจากภาษาที่ไม่ใช่อังกฤษ เช่น gcompris
ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส (ความจริง Linux ก็มาจากภาษา
ฟินแลนด์) หรือจะเป็น sabayon, galeon ฯลฯ วิธีอ่าน
ก็จะขึ้นอยู่กับหลักการที่ใช้ ว่าจะอ่านตามหลักภาษาแม่แบบ
หรือตามหลักภาษาอังกฤษ (เช่น กรณี ลินุกซ์ - ลินิกซ์ -
ไลนักซ์ - ลินักซ์ ก็แตกแยกย่อยเพราะเหตุนี้เหมือนกัน)

ชื่อบางชื่อ ออกเสียงลำบากจริง ๆ และดูเหมือนการคง
ตัวสะกดไว้ก็เป็นเจตนาของเจ้าของชื่อด้วย เช่น swfdec
(เขาบอกให้อ่าน "สวิฟเด็ก" แต่การอ่านเป็นไทยก็จะ
ขาดข้อมูลที่ชื่อต้นแบบจะสื่อ คือเป็น SWF decoder)

หรือจะเป็นโปรแกรมในตระกูล KDE ที่ใช้ตัว k ก็เช่นกัน
ชื่ออย่าง digikam อ่านเป็น "ดิจิแคม" ก็สูญเสียเอกลักษณ์
ของการใช้ตัว k ไป

และยังมีประเด็นต่าง ๆ อีก เกี่ยวกับความพิสดารของ
ชื่อซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ที่ทำให้การคงตัวเขียนโรมันไว้
จะปลอดภัยกว่าน่ะครับ ตามความเห็นของผม

กรณีของสินค้าโภคภัณฑ์ที่วางตลาดนั้น จะมีฉลาก
ทั้งอังกฤษและไทยควบคู่กัน ทำให้การแปลเป็นไทย
ไม่ทำให้เสียเอกลักษณ์ของชื่อยี่ห้อต้นฉบับ แต่สำหรับ
โปรแกรมที่แปลเป็นไทยนั้น ถ้าอยู่ในโลแคลไทยก็จะ
ไม่มีโอกาสได้เห็นชื่อภาษาอังกฤษเลย การแปลชื่อ
เป็นไทยจึงต้องพยายามคงเอกลักษณ์ของชื่อต้นทาง
ไว้ให้มากที่สุด

Thanasil Num-a-cha

unread,
Jan 21, 2010, 3:06:35 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
Off Topic นิดนึงละกัน

ผมเคยคุยกับเพื่อนชาวเกาหลี เขาไม่รู้จัก ซัมซุง (Samsung)
เพราะเขาออกเสียงว่า "แซมซัง" หรือ ฮุนได (Hyundai) เพราะเขาออกเสียงว่า
"ฮันเดะ"

ลองติดต่อเจ้าของโปรแกรม (คนตั้งชื่อ) ให้เขาบันทึกเสียง
และส่งตัวการออกเสียงโดยเขียนเป็น phonetic
มาเพื่อตัดปัญหาการออกเสียงเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ของเขาดีไหมครับ?

หน่อย SNC :)

2010/1/21 Theppitak Karoonboonyanan <thep...@gmail.com>:

Sira Nokyoongtong

unread,
Jan 21, 2010, 3:24:21 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
คิดว่าระหว่างที่ยังสรุปไม่ได้ ของโปรเจคที่ผมดูแลอยู่ผมจะใส่ชื่อผลิตภัณฑ์เป็นภาษาอังกฤษไปเลยแล้วกันนะครับ ส่วนชื่อซอฟต์แวร์บางตัวยังมีปัญหาบ้าง เรื่อง UI มัน import มาไม่หมด (กรณี ubuntu) กับอีกเคสนึงคือ มีนักแปลบางท่านที่แปลทับไป แล้วคำมันเลยไม่ตรงใน official gnome เลยยังมีปัญหาเรื่องความกำกวมของคำที่จะเลือกใช้อยู่

ยังมีปัญหาอีกส่วนคือ ตอนนี้แปล ubuntu manual อยู่ แล้วพอแปลเป็นไทยทั้งหมดแล้วมันเข้าใจยากมาก บางอย่างถ้าผมไม่เคยเห็นคำภาษาอังกฤษมาก่อนนี่แปลเองอ่านเองยังไม่รู้เรื่องเลย แต่อันนี้คงต้องทำใจ เพราะ user ที่ชินภาษาอังกฤษมันดันเยอะ พอทำงานในลักษณะของชาวญี่ปุ่นที่ translate ทั้งหมดแล้ว เราเลยงงเอง เพราะไม่ค่อยได้ใช้ภาษาไทย แต่ยังไงแล้วการแปลคู่มือผมคงอิงคำภาษาไทยเป็นหลักนะครับ

ยังไงถ้าอยาก join เชิญที่ https://launchpad.net/~lp-l10n-th แต่เรื่องการพูดคุยคงผ่าน group นี้ เป็นหลักครับ

มะระ

เมื่อ มกราคม 21, 2010 3:06 หลังเที่ยง, Thanasil Num-a-cha <speedn...@gmail.com> เขียนว่า:

Theppitak Karoonboonyanan

unread,
Jan 21, 2010, 4:00:54 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
2010/1/21 Thanasil Num-a-cha <speedn...@gmail.com>:

> Off Topic นิดนึงละกัน
>
> ผมเคยคุยกับเพื่อนชาวเกาหลี เขาไม่รู้จัก ซัมซุง (Samsung)
> เพราะเขาออกเสียงว่า "แซมซัง" หรือ ฮุนได (Hyundai) เพราะเขาออกเสียงว่า
> "ฮันเดะ"

แต่ถ้าพูดว่า "แซมซัง" หรือ "ฮันเดะ" ในไทย ก็ไม่มีใครรู้จักเหมือนกัน
ใช่ไหมครับ

นี่จึงเป็นประเด็นของการใช้หลักการแปล ว่าจะใช้ตามภาษาต้นทาง
หรือใช้หลักภาษาอังกฤษ

> ลองติดต่อเจ้าของโปรแกรม (คนตั้งชื่อ) ให้เขาบันทึกเสียง
> และส่งตัวการออกเสียงโดยเขียนเป็น phonetic
> มาเพื่อตัดปัญหาการออกเสียงเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ของเขาดีไหมครับ?

บางครั้ง คนตั้งชื่อก็ไม่ได้เป็นผู้กำหนดเสมอไปครับ

ถามว่า คนอเมริกันฟังที่ Linus บอกว่า "I pronounce it 'ลินุกซ์'"
หรือเปล่า? ผมเจอฝรั่งอเมริกัน ร้อยทั้งร้อย ทักว่าผมออกเสียงผิด
ต้อง "ลินิกซ์" ถึงจะถูก..

แต่ Linus ก็บอกว่า จะอ่านยังไงก็ช่างคุณเหอะ ขอให้รู้ว่ามันคือ
"Linux" เหมือนกันก็แล้วกัน -> กลายเป็นว่า ใช้ตัวโรมันปลอดภัยกว่า

แม้กระทั่งชื่อ Ubuntu เอง ผมไปเจอ Ubuntu developer เอง
ยังออกเสียงกันหลายแบบเลยครับ "อูบันทู", "อูบุนทู", "ยูบันทู" ฯลฯ
(แต่ยังไม่ได้ถาม Shuttleworth นะครับ เหอ ๆ)

แล้วประเด็นเรื่องเอกลักษณ์ของชื่อโปรแกรมก็เหมือนกันครับ
บางทีเรียกเป็นไทยแล้วมันไม่ต่างจากคำสามัญ เช่น พูดว่า
"เปิดคอนโซลสิ" จะหมายถึง console ทั่วไป หรือว่า konsole
ของ KDE?

ชื่ออย่าง swfdec ผมก็คิดว่าคงตัวโรมันไว้น่ะแหละ สื่อความชัดดี

ความจริง ผมคิดว่ายังมีกรณีอื่นที่ผมยังนึกไม่ออกอีกมากครับ
เรื่องชื่อพิสดารทั้งหลายเนี่ย

Thanasil Num-a-cha

unread,
Jan 21, 2010, 4:24:12 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
อ๋อ ประเด็นที่ผมยกตัวอย่างนั้น
ถึงได้บอกว่าอยากให้เราได้การออกเสียงจากต้นฉบับจริงๆ มาแต่แรกไงครับ :)
เพราะหากมาเดากันเอง อาจมีปัญหาเหมือน ซํมซุง กับ ฮุนได ที่ผมยกตัวอย่าง
;)

2010/1/21 Theppitak Karoonboonyanan <thep...@gmail.com>:

Sira Nokyoongtong

unread,
Jan 21, 2010, 4:37:11 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
คือถ้าเราอิงการออกเสียงจากต้นทางมา เราก็จะแปล ฮุนได ว่า ฮันเดะ กลายเป็นคนไทยไม่รู้เรื่องไงครับ

เมื่อ มกราคม 21, 2010 4:24 หลังเที่ยง, Thanasil Num-a-cha <speedn...@gmail.com> เขียนว่า:

Thanasil Num-a-cha

unread,
Jan 21, 2010, 4:39:39 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
ผมหมายถึงว่า ถ้าหากทำให้คนไทยรู้จักคำว่า ฮันเดะ เสียตั้งแต่แรกไงครับ ;)

2010/1/21 Sira Nokyoongtong <gum...@gmail.com>:

Surakarn Samkaew

unread,
Jan 21, 2010, 5:44:29 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
แบบนี้ก็ต้องทำให้คนทั้งโลกรู้จัก ฮันเดะ เหมือนกันหมดสิครับ ซึ่งถ้าหากภาษาประเทศไหนไม่มีพยัญชนะเทียบเคียง หรือเสียงเทียบเคียงแล้ว ฮันเดะ ก็จะเปลี่ยนรูปเปลี่ยนเสียงไปจากต้นฉบับอีก

ผมไม่มีประสบการณ์งานแปลนะครับ แต่จากการอ่าน topic นี้มาตั้งแต่แรก ขอสนับสนุนความเห็นของคุณเทพครับ เนื่องจากเหตุผลประกอบมีน้ำหนักมาก

ขอบคุณครับ

2010/1/21 Thanasil Num-a-cha <speedn...@gmail.com>

Thanasil Num-a-cha

unread,
Jan 21, 2010, 10:55:09 AM1/21/10
to thai...@googlegroups.com
สวัสดีครับ

ประเด็นผมบอกแล้วว่า off topic และต้องการจะสื่อถึงว่า
หากต้องการจะให้หมดปัญหากับเจ้าของ/คนคิด/คนตั้งชื่อจริงๆ
ก็ขอไฟล์เสียงพร้อม phonetic จากเขามาเลย (หรือจะขอมาแต่ phonetic
ก็น่าจะโอเคอยู่)
นั่นหมายถึงกรณีที่เราต้องการให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษกำกับนะครับ
และผมค่อนข้างแน่ใจว่า phonetic สามารถเลียนเสียงได้ครบ
(หรือใกล้เคียงมากๆ ก็ได้เอ้า) ดังนั้นเขาจึงนิยมนำ phonetic
มาใช้ประกอบการสอนภาษาต่างๆ ครับ (สอนคนพูดภาษาอังกฤษมาแต่เกิด
ให้ออกเสียงไทยก็ใช้ phonetic ในการสอนนะ)

เออมีอีกกรณีหนึ่ง ASUS สมัยก่อนเรียก เอซัส กันทั้งนั้น
พอผู้มีอำนาจเต็ม (ตัวแทนผลิตภัณฑ์) ออกโฆษณา ประชาสัมพันธ์
และเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ตัวเองว่า อัสซุส ก็มีการเปลี่ยนวิธีการเรียกตาม
ดังนั้นเรื่อง ฮันเดะ
คงไม่ใช่หน้าที่เราที่จะต้องไปทำให้คนทั้งโลกออกเสียง
หรือรู้จักเขาแบบนั้นครับ

ผมเห็นด้วยกับคุณเทพทุกครั้งอยู่แล้วครับ :) นี่เป็นแค่โฆษณาคั่นเฉยๆ ;)
เพราะผมเองก็ไม่มีประสบการณ์แปล ไม่เซียนคอมพิวเตอร์ด้วย
แต่พอมีมุมมองอะไรนิดหน่อยที่คิดว่าอาจจะน่าสนใจ
ก็เลยนำเสนอเป็นโฆษณาคั่นครับ :D

ขอบคุณครับ
หน่อย SNC
ป.ล. หากบังเอิญทำให้เกิดความสับสน เข้าใจอะไรผิดกันไป ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ :)

2010/1/21 Surakarn Samkaew <ton...@gmail.com>:

Reply all
Reply to author
Forward
0 new messages