งานเข้าแล้วครับ

18 views
Skip to first unread message

Ford AntiTrust

unread,
Nov 29, 2008, 10:57:23 PM11/29/08
to read...@googlegroups.com

ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ

 

http://itshee.exteen.com/20081130/readcamp

 

--------------------------------------------------

Best Regards, Annop S. (Ford)

 

Patipat Susumpow

unread,
Nov 29, 2008, 11:03:49 PM11/29/08
to read...@googlegroups.com
เมื่อวานก็เข้ามาทีนึงละ

---
http://twitter.com/kengggg


2008/11/30 Ford AntiTrust <ann...@gmail.com>

Arthit Suriyawongkul

unread,
Nov 30, 2008, 12:17:01 AM11/30/08
to read...@googlegroups.com, Creative Commons Thailand, Thai Netizen
เย่!

ก่อน Ford ส่งมาผมก็อ่านแล้วล่ะ
เมื่อวานก็มีพี่คนหนึ่งถาม คุยกันอยู่พักหนึ่ง นานพอควร
และคิดว่าจะเปิดเซสชันคุยเรื่องนี้ แต่ก็วิ่งไปวิ่งมา จนไม่ได้ทำ
(เอาไปแปะไว้ห้องสองเป็นหัวข้อสุดท้ายแล้ว แต่ก็ไม่ได้เปิด)

วันนี้ตื่นมา เลยจะเขียนบล็อกแทน
ก็เห็นมีลิงก์มาจากคุณ mnop
http://itshee.exteen.com/20081130/readcamp
อันเดียวกันที่ Ford เห็นนั่นแหละ

ตอบในฐานะผู้ออกแบบโลโก้นะครับ

เรื่องลิขสิทธิ์นี้มีคนถามกันมาตลอด
ตั้งแต่โลโก้ยังเห็นกันอยู่แค่สองคน คือผมกะนิ้ว
เพื่อน ๆ ก็ทักอยู่เรือย ๆ ตั้งแต่เมลไปถามความเห็นกัน

แต่ผมก็ยังยืนจะเอาอันนี้แหละ

ข้างล่างนี้คือความประสงค์ของผม - จะเรียกว่า hidden agenda ก็ได้ :p
ถ้ามีปัญหาอะไรนี่ก็ยินดีครับ (ลองดูว่าอะไรคือปัญหา และทำไมผมจึงจะยินดี
ได้ในข้อความข้างล่าง)
----

ในที่สุดก็มีคนเห็นบ้างแล้ว ประเด็นลิขสิทธิ์ และที่เชื่อมถึงคอมมอนส์

ในวันงานก็มีคนถาม และมีโอกาสได้คุยอยู่นานพอสมควร

ในโลโก้นี้มีความประสงค์อยู่หลายอย่าง

อันแรกก็คือ ชวนดูว่าข้างในมันมีอะไร
มันล้ออะไรอยู่บ้าง แล้วทำไมเราเห็นถึงมัน แล้วบางคนอาจจะไม่เห็น
(ใครไม่เคยเห็นโลโก้พิซซ่าฮัทมาก่อน ก็คงไม่นึกถึง
หรือในเรื่องเจ้าชายน้อยเอง ก็ยังมีคนเห็นไม่เหมือนกัน)
อันนี้ก็ตามแนวคิดของงาน ของแต่ละอย่างอ่านได้หลายแบบ
แล้วแต่คนอ่าน อำนาจอยู่ที่คนอ่าน-ด้วย


อันสองก็คือแนวคิด rip/read mix burn**
ต่อจาก read แล้ว คุณ mix ดัดแปลงมันออกมาเป็นงานใหม่ได้ไหม
สร้างเป็นของใหม่ที่อยู่บนฐานเก่า
อันนี้เป็นฐานคิดของคอมมอนส์ที่อยู่บนเรื่องของทรัพย์สินร่วมกัน
และการสร้างสรรค์ derivatives
ตัวโลโก้ก็จะสื่อถึงว่า นี่ไง งานดัดแปลง อยู่บนฐานของความคิดคนอื่น
ออกมาเป็นงานใหม่

อย่างไรก็ตาม ครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ได้สนับสนุนให้ละเมิดลิขสิทธิ์
เพราะถึงอย่างไรกลไกของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ก็ต้องทำงานอยู่บนกฎหมายลิขสิทธิ์
และภาพประกอบของเจ้าชายน้อยยังเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์อยู่


จึงนำไปสู่ประสงค์ที่สาม
ที่เป็นการเคลื่อนไหวที่อยู่นอกกรอบของครีเอทีฟคอมมอนส์ในแง่สัญญาอนุญาต
แต่อยู่ในเป้าหมายของ Free Culture movement
คือ ท้าทายระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบันที่คุ้มครองผลงานจนเกินพอดี
โดยในกรณีนี้คือการ *จงใจ* นำงาน *อันมีลิขสิทธิ์* มาดัดแปลงเป็นงานใหม่
ว่าง่าย ๆ คือ *จงใจทำผิดกฎหมาย* เพื่อทดสอบลิมิต
และจะยอมเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย เพื่อนำไปสู่ *การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย*
เหมือนกับที่ Rosa Parks หญิงผิวสี เคยทำ*ผิดกฎหมาย*
ปฏิเสธคำสั่งของคนขับรถเมล์ ที่สั่งให้เธอลุกให้คนผิวขาวนั่ง เมื่อ ค.ศ.
1955 เธอถูกดำเนินคดี
และเหตุการณ์นี้จุดประกายการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง
และนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายที่ละเมิดสิทธิพลเมือง
(หรือถ้าเกิดกลายเป็นว่า การแก้ไขดัดแปลงนำมาใช้เช่นนี้
นี่ไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย นี่ก็จะเป็นการทดสอบลิมิต
ว่ากฎหมายจำกัดถึงแค่ไหน เพื่อสร้างความชัดเจน
ไม่ตกอยู่ในความกลัว-คลุมเครือ)


แน่นอนว่าการทำผิดกฎหมาย
ย่อมได้รับการต่อต้านหรือไม่เห็นด้วย
แม้จากแนวคิดผู้ที่สนับสนุนแนวคิดครีเอทีฟคอมมอนส์

จึงนำไปสู่คำถามที่สี่-คำถามพิเศษเพื่อทบทวนตัวเอง-ต่อผู้สนับสนุนสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แต่ยังลังเลกับขบวนการวัฒนธรรมเสรี
คือ
ถ้าคนเห็นอกเห็นใจ มี sympathy กับ อองตวน
(หรือผู้ที่ดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ถือสิทธิ์ในงานของเขาในปัจจุบัน)
แต่ด้วยมาตรฐานเดียวกัน
ทำไมถึงไม่มี sympathy กับ ดิสนี่ย์ ?
(กรณีการ 'abuse'
กฎหมายลิขสิทธิ์-ความพยายามในการแก้ไขกฎหมายเพื่อขยายเวลาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของตัวออกไปเรื่อย
ๆ ของดิสนี่ย์และบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่หลายแห่ง
นำมาสู่การต่อต้านและกลายเป็นขบวนการเคลื่อนไหววัฒนธรรมเสรี Free Culture
ที่นำมาสู่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ในที่สุด)


และคำถามที่สี่นี้เป็นคำถามที่เตือนหรือตั้งคำถามว่า
ครีเอทีฟคอมมอนส์จะดำเนินไปได้โดยไม่สนใจวัฒนธรรมเสรีอันเป็นรากของตัวหรือไม่
ถ้าใช่ แล้วครีเอทีฟคอมมอนส์จะเดินทางไปสู่อะไร ?
อะไรคือเป้าหมายของครีเอทีฟคอมมอนส์ ?


โดยภาพรวมของแนวคิดวัฒนธรรมเสรี Free Culture ก็คือ
การปกป้องสภาพแวดล้อมของการสร้างสรรค์เอาไว้
เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
โดยไม่ถูกจำกัดจากการคุ้มครองที่เสมือนไม่มีที่สุด
(ทั้งในแง่เวลาและแง่ความครอบคลุม)
ซึ่งเป็นที่มาของสัญญาอนุญาตที่ "สงวนสิทธิบางประการ" (some rights
reserved แทนที่จะเป็น all rights reserved)

ซึ่งการสงวนสิทธิประการนี้
จะคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้สร้างสรรค์เอาไว้ ในขณะเดียวกัน
ก็เปิดโอกาสให้ผู้อื่น ๆ นำงานดังกล่าว ไปใช้
ไปแก้ไขดัดแปลงต่อเติมเป็นงานใหม่ ได้ในทางปฏิบัติ
(คือไม่ต้องขออนุญาตก็นำไปใช้ได้เลย เพราะการขออนุญาตนั้นมีราคา overhead
ที่อาจจะไม่สามารถจ่ายได้ไหว ทั้งในรูปของเงินหรือเวลา
เช่นกรณีศึกษาการทำหนังเรื่องหนึ่งอาจมีต้นทุนทางกฎหมายและการดำเนินการขออนุญาต่าง
ๆ ถึงกึ่งหนึ่งของต้นทุนสร้างหนังทั้งหมด)

แนวคิดการสงวนสิทธิบางประการนี้
นำมาสู่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์
ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของความพยายามที่จะหาวิธีการให้แนวคิดสงวนสิทธิบางประการดังกล่าว
ให้มีตำแหน่ง fit in อยู่ในระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบันให้ได้
คือใช้วิธีแบบสมัครใจในการเข้าร่วม

อย่างไรก็ตาม
รูปแบบการนำแนวคิดสงวนสิทธิบางประการให้เป็นความจริงได้นั้น
**ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์เท่านั้น**


พูดอย่างสรุป คือ

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเป็นการสร้างระบบนิเวศใหม่
ผลักดันให้งานเกิดใหม่มาใช้สัญญาอนุญาตแบบนี้ พร้อมชักชวนให้งานเก่า ๆ
เปลี่ยนมาด้วย ตามความสมัครใจ - ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ในระบบลิขสิทธิ์เดิม
คือโลกเดิมมันแย่แล้ว สร้างโลกใหม่ละกัน แล้วของเก่า ๆ ก็ค่อย ๆ อพยพ
migrate มาเท่าที่จะทำได้
แบบนี้ก็เนียน ๆ หน่อยค่อยเป็นค่อยไป - เป็นวิวัฒนาการ evolution

ส่วนการเคลื่อนไหววัฒนธรรมเสรีนั้น ท้าทายระบบเดิม เพื่อนำไปสู่ระบบใหม่
คือจะเปลี่ยนโลกเดิมทั้งใบให้เป็นโลกใหม่เลย
แบบนี้ก็รุนแรงหน่อย (และได้รับการต่อต้านมากหน่อย) - เป็นการปฏิวัติ revolution


หมายเหตุตัวโต ๆ :
แม้ตัวผมเองนั้นได้ไปช่วยงานทางกลุ่มทำงานครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทยด้วย
แต่การทำโลโก้ และจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดประเด็นถกเถียง-ทบทวน จากประเด็นโลโกนี้
ไม่ได้เกี่ยวกับครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทยครับ :)


อาท / bact'

** คำว่า Read Mix Burn นี้ ที่เคยเกริ่น ๆ
กับทีมงานไว้ในเมลฉบับหนึ่งช่วงเตรียมงาน
ว่างานอยากให้งานมันเป็นซีรี่ส์ Mix คือเอางานมาผสมเล่าใหม่ในสื่อต่าง ๆ
Burn คือจะทำประเด็นของที่ไม่ใครอยากให้อ่าน
หนังสือต้องห้าม-หนังโดนแบน-เว็บโดนบล็อค
Read Mix Burn นี้ ล้อสโลแกนในโฆษณา iPod+iTunes ของ Apple ที่ว่า Rip Mix Burn

--
http://bact.blogspot.com/
http://twitter.com/bact

Arthit Suriyawongkul

unread,
Nov 30, 2008, 12:29:40 AM11/30/08
to read...@googlegroups.com
นี่มาแล้ว จาก derivative นึง ไปสู่อีก derivative นึง

http://pradt.net/readcamp

คิดว่าที่เข้าเซสชัน อ.โป้ง @dragonmeteor นี่น่าจะเข้าใจไอเดียครับ

อาท

Arthit Suriyawongkul

unread,
Nov 30, 2008, 12:35:46 AM11/30/08
to read...@googlegroups.com
2008/11/30 Arthit Suriyawongkul <art...@gmail.com>:

> นี่มาแล้ว จาก derivative นึง ไปสู่อีก derivative นึง
>
> http://pradt.net/readcamp

อืม 'เปลี่ยน' โลโก้มันทุกครั้งเลยดีป่ะ ? :D


แต่ละครั้งนี่ก็ล้อกับของเดิมขึ้นไปเรื่อย ๆ
แบบมีไดโนเสาร์ฉีกออกมาจาก 'หมวก'
แล้วซากหมวกก็ละลายลงไปอาบอักษร ReadCamp กลายเป็นสีแดง
แล้วก็ไหม้ กลายเป็นฟีนิกซ์ กับดาวลูกเป็ดดูทีวี :p

อาท


--
http://twitter.com/bact

Jiew

unread,
Nov 30, 2008, 12:58:20 AM11/30/08
to read...@googlegroups.com
เราว่าเมลของอาทอธิบายได้ชัดอยู่นะ
เป็นเรื่องบ้าดี ต้องเป็นพวกบ้าพลังมากๆอ่ะนะ
ที่จะไม่เคยหยุดยั้งในการตั้งคำถาม กับความคลุมเครือ ของสิ่งที่จะเรียกว่าเป็นรอยต่อและเขตแดน

โดยทั่วไปมนุษย์เราชอบเส้นแบ่งอันชัดเจน แล้วเราก็พยายามจะจัดการแยกแยะสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งหนึ่ง
จนเมื่อเราจัดแบ่งได้ระดับหนึ่ง บ่อยครั้งเราก็พบว่าเส้นแบ่งนั้นเราขีดขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบกรงให้เราเองหรือเปล่า

จำได้ว่าตอนที่ เออออ ไม่ค้านอาทแบบหัวชนฝา เอาเป็นแค่ว่าถามด้วยความเป็นห่วงว่า
เอ่อ..มันคล้ายๆรูปงูเหลือมในเจ้าชายน้อย มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิรึเปล่า? ส่วน Pizza Hut เราไม่ได้มีความรู้สึกนึกรู้เลยว่าฟอนต์ที่ใช้เป็นของใคร (อิอิ..แปลว่าข้าพเจ้ายังปลอดภัยดีจากพิซซ่าฮัท)

ส่วนหนึ่งที่ไม่ค้านแรงๆ เพราะโดยใจลึกๆแล้วเราชอบค่ะ โลโก้มันสวย, มันสื่อความหมายเรื่องการ อ่าน แบบที่เราอยากชวนกันมา อ่าน แล้วมันก็มีเรื่องให้ระทึกนิดหน่อยว่าจะนำ 'งานเข้า' แบบไหนมาให้

อย่างไรก็ตามมันก็ยังมีเรื่องชวนถกในการดัดแปลงสร้างสรรค์ใหม่นั้นมันเป็นไปได้ขนาดไหน ที่จะไม่กลายเป็นเรื่องส่งเสริมความมักง่ายในการลอกเลียน แล้วนำเราไปสู่ Free Culture มากกว่า Freeze Culture

เราเสนอว่า Logo ReadCamp ครั้งแรก นี้ให้ ระบุไปเลยว่า ดัดแปลงสร้างสรรค์จาก ภาพประกอบเจ้าชายน้อย และ โลโก้ พิซซ่าฮัท

แล้วก็เห็นด้วยว่าครั้งต่อไป เราก็ดัดแปลงเพิ่มเติมจากครั้งนี้ แล้วก็ลงหมายเหตุระบุต่อท้ายว่า มาจาก ReadCamp  ครั้งแรก

พี่จิ๋ว




เมื่อ พฤศจิกายน 30, 2008 12:35 หลังเที่ยง, Arthit Suriyawongkul <art...@gmail.com> เขียนว่า:



--
Chiranuch (Jiew)
chir...@gmail.com
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
http://www.jaxtr.com/chiranuch


Life' s too Short, to be T H I N.

Atthakorn Chanthong

unread,
Nov 30, 2008, 1:19:33 AM11/30/08
to ReadCamp
เยี่ยมไปเลยครับกับ Hidden Agenda :-)
ว่าแต่อาท ไม่นำไปลงใน readcamp.org หรือบล็อกของอาร์ทหรือครับ

ผมว่าจะได้เป็นการอธิบายความหมาย และจุดประสงค์ของทีมงาน
ต่อพวกเรา ReadCamper ทุกคน ผ่านตัวสัญลักษณ์ (Logo) ได้ทีเดียว

ปล. เห็นด้วยกับพี่จิ๋วครับ เกี่ยวกับเรื่องหมายเหตุ.

บอล

On Nov 30, 12:58 pm, Jiew <chiran...@gmail.com> wrote:
> เราว่าเมลของอาทอธิบายได้ชัดอยู่นะ
> เป็นเรื่องบ้าดี ต้องเป็นพวกบ้าพลังมากๆอ่ะนะ
> ที่จะไม่เคยหยุดยั้งในการตั้งคำถาม กับความคลุมเครือ
> ของสิ่งที่จะเรียกว่าเป็นรอยต่อและเขตแดน
>
> โดยทั่วไปมนุษย์เราชอบเส้นแบ่งอันชัดเจน
> แล้วเราก็พยายามจะจัดการแยกแยะสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งหนึ่ง
> จนเมื่อเราจัดแบ่งได้ระดับหนึ่ง
> บ่อยครั้งเราก็พบว่าเส้นแบ่งนั้นเราขีดขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบกรงให้เราเองหรือเปล่า
>
> จำได้ว่าตอนที่ เออออ ไม่ค้านอาทแบบหัวชนฝา
> เอาเป็นแค่ว่าถามด้วยความเป็นห่วงว่า
> เอ่อ..มันคล้ายๆรูปงูเหลือมในเจ้าชายน้อย มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิรึเปล่า? ส่วน
> Pizza Hut เราไม่ได้มีความรู้สึกนึกรู้เลยว่าฟอนต์ที่ใช้เป็นของใคร
> (อิอิ..แปลว่าข้าพเจ้ายังปลอดภัยดีจากพิซซ่าฮัท)
>
> ส่วนหนึ่งที่ไม่ค้านแรงๆ เพราะโดยใจลึกๆแล้วเราชอบค่ะ โลโก้มันสวย,

> มันสื่อความหมายเรื่องการ *อ่าน* แบบที่เราอยากชวนกันมา*
> อ่าน*แล้วมันก็มีเรื่องให้ระทึกนิดหน่อยว่าจะนำ
> *'งานเข้า'* แบบไหนมาให้


>
> อย่างไรก็ตามมันก็ยังมีเรื่องชวนถกในการดัดแปลงสร้างสรรค์ใหม่นั้นมันเป็นไปได้ขนาดไหน
> ที่จะไม่กลายเป็นเรื่องส่งเสริมความมักง่ายในการลอกเลียน แล้วนำเราไปสู่ Free
> Culture มากกว่า Freeze Culture
>
> เราเสนอว่า Logo ReadCamp ครั้งแรก นี้ให้ ระบุไปเลยว่า ดัดแปลงสร้างสรรค์จาก
> ภาพประกอบเจ้าชายน้อย และ โลโก้ พิซซ่าฮัท
>
> แล้วก็เห็นด้วยว่าครั้งต่อไป เราก็ดัดแปลงเพิ่มเติมจากครั้งนี้
> แล้วก็ลงหมายเหตุระบุต่อท้ายว่า มาจาก ReadCamp  ครั้งแรก
>
> พี่จิ๋ว
>
> เมื่อ พฤศจิกายน 30, 2008 12:35 หลังเที่ยง, Arthit Suriyawongkul <
> art...@gmail.com> เขียนว่า:
>
>
>
> > 2008/11/30 Arthit Suriyawongkul <art...@gmail.com>:
> > > นี่มาแล้ว จาก derivative นึง ไปสู่อีก derivative นึง
>
> > >http://pradt.net/readcamp
>
> > อืม 'เปลี่ยน' โลโก้มันทุกครั้งเลยดีป่ะ ? :D
>
> > แต่ละครั้งนี่ก็ล้อกับของเดิมขึ้นไปเรื่อย ๆ
> > แบบมีไดโนเสาร์ฉีกออกมาจาก 'หมวก'
> > แล้วซากหมวกก็ละลายลงไปอาบอักษร ReadCamp กลายเป็นสีแดง
> > แล้วก็ไหม้ กลายเป็นฟีนิกซ์ กับดาวลูกเป็ดดูทีวี :p
>
> > อาท
>
> > --
> >http://twitter.com/bact
>
> --
> Chiranuch (Jiew)

> chiran...@gmail.com
> - - - - - - - - - - - - - - - - - - -http://www.jaxtr.com/chiranuch

Isriya Paireepairit

unread,
Nov 30, 2008, 1:24:34 AM11/30/08
to thain...@googlegroups.com, read...@googlegroups.com, Creative Commons Thailand
ผมคิดว่าที่เขียนมานี้ ก็น่าจะอธิบายได้ครอบคลุมหมดแล้วนะครับ
ไม่มีอะไรจะเสริมอะ น่าจะเอาโพสต์ไว้บน blog หรือบนเว็บของ ReadCamp
ก็น่าจะพอแล้วนะ เดี๋ยวคนวิจารณ์เขาตามมาอ่านเองแหละ

2008/11/30 Arthit Suriyawongkul <art...@gmail.com>:

thanr

unread,
Nov 30, 2008, 6:42:00 PM11/30/08
to ReadCamp
คุณอองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี ผู้เขียนหนังสือเจ้าชายน้อย
(และเป็นผู้วาดภาพประกอบ) หายสาบสูญ (และถูกประกาศให้เสียชีวิต)
ไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2487

ตามกฎหมายไทย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๑๙ วรรคแรก
"ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒
ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์
และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย"

ในที่นี่ ผู้สร้างสรรค์ = คนเขียน + คนวาด = คุณอองตวน

ตอนนี้ผ่านไปแล้ว 64 ปี

ผมเชื่อว่ามันน่าจะเป็น public domain มา 14 ปีแล้วนะ

> ...
>
> read more >>

Arthit Suriyawongkul

unread,
Dec 1, 2008, 11:23:17 AM12/1/08
to read...@googlegroups.com
มาแล้ว เลตหน่อย แต่มาแล้ว๛ :)

http://culturelab.in.th/readcamp/2008/12/readcamp-logo-free-culture/

mnop

unread,
Dec 3, 2008, 1:20:58 AM12/3/08
to ReadCamp
ขอตอบหน่อยละกัน หลายคนอ่านมาถึงก็คงอ๋อกันแล้วว่าผมไม่ได้ปลุกกระแส
แต่คิดว่าหลายคนก็ยังงง และหลายคนที่ไม่เข้าใจ และคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ
ไร้สาระ

ตามที่คุณ thanr และคุณ paepae ว่าไว้ ว่างานชิ้นนี้เป็น PD (public
domain - สาธารณสมบัติ)
ไม่ใช่เป็นงานลิขสิทธิ์เหมือนที่ทางผู้จัดทำโลโก้เข้าใจ
ซึ่งผมเองก็รอคำตอบจากปากผู้ทำว่า "ที่นำมา remix เพราะว่ามันเป็น PD"
ตามคอนเซปต์การสร้างงานใหม่จากพื้นฐานงานเดิมของ CC

แต่คำตอบที่ได้กลับเป็น "งานเข้า" กับอะไรก็ไม่รู้
(ผมอ่านแล้วรู้สึกเหมือนมั่ว แต่ผมอาจอ่านไม่ดีเอง)
ในขณะเดียวกันผมเองก็ค่อนข้างมั่นใจว่าผู้จัดทำไม่รู้ตรงจุดนี้
หลังจากที่ดูวิดีโอตัวนี้ http://tr.im/1rqt
จึงได้บล็อกมันขึ้นมาให้ชาวเอ็กซ์ทีนได้ข้อคิดกัน
แต่ก็ยังคงแอบคาดหวังลึกๆ ว่าที่นำมางานมา remix เพราะ"รู้แล้วถึงทำ"
แต่จากคำตอบที่คุณ Arthit มาแจง
กลับยิ่งย้ำความคิดผมเข้าไปมากกว่าเดิมที่ว่า
"การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องปกติและยอมรับได้ของสังคมไทย"
ดังที่บอกว่ามีหลายคนทักแต่ยังไงก็ยืนยันว่าจะใช้แม้ว่า(จะเข้าใจว่า)
ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งประเด็นผมก็มีแค่นั้น ไม่ได้มากหรือน้อยไปกว่านั้น

แต่จากที่คุณ Arthit มาอธิบายไว้ผมก็เห็นหลายๆ คนไม่กล้าตอบต่อ อาจจะ (1)
ไม่รู้ว่าแปลกหรือไม่แปลก ความรู้ใหม่ศึกษาและอ่านอย่างเดียว (2)
รู้ว่ามันแปลก แต่ไม่อยากทักเพราะกลัวเสียเพื่อน (3) เข้ามาดู เป็น Mr.
Fusion

แต่อย่างที่บอกไว้เบื้องต้นว่า คุณ thanr และคุณ paepae
แอบมาบอกว่าผลงานภาษาฝรั่งเศส และรูปภาพที่วาดโดย อองตวน เดอ แซง-
เตกซูเปรี นั้นเป็นสาธารณสมบัติแล้วในหลายประเทศ
เนื่องจากเป็นผลงานเก่าที่มีอายุเกิน xx ปี (แล้วแต่ประเทศ)

ย้อนกลับไปเรื่อง CC อีกรอบ คอนเซปต์พื้นฐานของ CC
นั้นก็มาจากความต้องการเปิดเสรีของโลกครีเอทีฟที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองผู้ออกแบบอยู่
Larry ไม่ได้ต้องการท้าทายกฎหมายลิขสิทธิ์
แต่เขาหาทางออกที่น่าสนใจระหว่างจุดกึ่งกลางของโลกเสรีกับกฎหมายลิขสิทธิ์
ซึ่งสุดท้ายกลายมาเป็นผลงานในชื่อ Creative Commons (ซึ่งอายุจะครบ 6
ปีแล้ว)

และอีกเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิดว่า เราต้องสนับสนุนงานเสรี เราต้องใช้ CC
แต่ทว่าได้นำภาพการ์ตูน ภาพปกหนังสือ ภาพวาดของคนอื่นมา remix
ในงานของตัวเอง แล้วเปิดให้งานของตัวเองเป็น CC

ถ้าคุณ Arthit สนใจเรื่องนี้ ผมแนะนำหนังสือ Remix : Making Art and
Commerce Thrive in the Hybrid Economy - Lawrence Lessig (ISBN
978-1594201721) อ่านนะครับ หรือดูบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับหนังสือนี้ได้ที่
http://tr.im/1rr1

แต่สุดท้ายก็ฝากบอกว่าไม่ต้องคิดมากหรอกครับ ผมเองก็ไม่ได้จะมาอะไรกับ
ReadCamp นะครับ
เพียงแค่บล็อกมันขึ้นมาให้ชาวเอ็กซ์ทีนได้ข้อคิดกันแค่นั้น
เพราะสังคมเอ็กซ์ทีนเป็นสังคมครีเอทีฟ
สมาชิกในนั้นหลายคนก็เป็นพวกศิลปินกันเยอะ
จะเข้าใจจุดนี้ได้ดีกว่าที่อื่นหน่อย

ผมคาดว่าอย่างน้อยก็อีก 5 ปีข้างหน้า กระแสลิขสิทธิ์จริงๆ คงมา
อย่างตอนนี้เมืองไทยไม่มีใครสนใจเรื่องลิขสิทธิ์กันจริงจังขนาดนั้น
ขนาดคนทำ CC ไทยเองยังไม่สน

* ถ้าอ่านแล้วขัดใจ ก็ขอให้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบนะครับ
ไม่ใช่แค่อ่านชื่อคนโพสต์ก็ขัดใจแล้ว (เหมือนที่ผ่านๆ มา)
* ขออนุญาตใช้ tr.im นะครับ ลิงก์ยาวดูไม่สวย
* บล็อกผมครับ http://itshee.exteen.com ก่อนหน้าเคยเขียนเกี่ยวกับ CC
นิดหน่อย เผื่อใครสนใจอ่านเพิ่มเติม
* วิกิพีเดียไทย http://th.wikipedia.org ใครมีเวลาและความรู้
ร่วมปันเผยแพร่กันได้

Isriya Paireepairit

unread,
Dec 3, 2008, 2:17:08 AM12/3/08
to read...@googlegroups.com
> ถ้าคุณ Arthit สนใจเรื่องนี้ ผมแนะนำหนังสือ Remix : Making Art and
> Commerce Thrive in the Hybrid Economy - Lawrence Lessig (ISBN
> 978-1594201721) อ่านนะครับ หรือดูบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับหนังสือนี้ได้ที่
> http://tr.im/1rr1

เท่าที่ผมทราบ คุณ Arthit อ่านงานของ Lessig จบเกือบหมดแล้วครับ

Reply all
Reply to author
Forward
0 new messages