ช่วยกันอ่านตรวจทานครับ Legal codes on staging for proofreading

76 views
Skip to first unread message

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 10, 2009, 9:21:27 PM2/10/09
to Creative Commons Thailand
ทุกคน,

นี่คือข้อกฎหมายสัญญาอนุญาตที่อยู่บน staging server
เชิญทุกคนอ่านตรวจทาน โดยเทียบกับเนื้อหาที่ http://cc.in.th/wiki/ ครับ

ทั้งใจความ คำ ตัวสะกด เครื่องหมายวรรคตอน การเว้นวรรค ฯลฯ

ทาง CCi แนะนำว่า ในขั้นตอนนี้ น่าจะมีคนที่ไม่เคยเห็นสัญญาอนุญาตมาก่อน
("fresh eyes") มาช่วยตรวจทานด้วย
ถ้าใครมีเพื่อน ๆ สนใจก็ลองเชิญมาอ่านตรวจทานกันดูนะครับ


http://staging.creativecommons.org/licenses/by/3.0/th/legalcode
http://staging.creativecommons.org/licenses/by-nc/3.0/th/legalcode
http://staging.creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/legalcode
http://staging.creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/3.0/th/legalcode
http://staging.creativecommons.org/licenses/by-nd/3.0/th/legalcode
http://staging.creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0/th/legalcode


แนบมาด้วยคือขั้นตอนไปสู่การเปิดตัวสัญญาอนุญาต CC ของเรา
ตอนนี้เราอยู่ที่ขั้นที่ 2 ครับ

ขอบคุณครับ
อาท


---------- Forwarded message ----------
From: Michelle Thorne <mich...@creativecommons.org>
Date: Wed, Jan 28, 2009 at 9:05 PM
Subject: Re: [CC Thai] Thai 6 core CCL already finished.
To: cctha...@googlegroups.com
Cc: Arthit Suriyawongkul <art...@gmail.com>, Chitpong Kittinaradorn
<guo...@gmail.com>, Isriya Paireepairit <mark...@gmail.com>,
Catharina Maracke <cath...@creativecommons.org>, PH
<phic...@gmail.com>


Dear Phichai and CC Thailand team,

An enormous thank-you to Phichai and the DLO office for completing the
legal steps! It is incredibly exciting that the Thai licenses will be
moving ahead -- we really appreciate your excellent work. Please allow
me to follow up on Phichai's email, so that I may outline the
remaining steps in more detail.

1. Generating XHTML files.

As agreed, Arthit will generate the XHTML files of the licenses.
Arthit, you can find detailed instructions about this step here:
http://wiki.creativecommons.org/Project_leads_finalize_licenses_and_arrange_technical_requirements#Creating_the_XHTML_files

Please let me know if you have any questions here!

2. Proofreading.

Once Arthit has completed the XHTML files, he will send them to CCi to
uploaded on our staging server. At this point, we will require the CC
Thailand team to assist us in a final proofreading. As native Thai
speakers, we will rely heavily on your contributions to ensure that
all spelling, punctuation, and formatting are correct. Please also
feel free to invite "fresh eyes" to help with the proofreading.

As has been mentioned before, it is also important to emphasize that
once the licenses are live, there can be no changes made. For that
reason, the proofreading stage is very important, and the team must
help us ensure that the text and coding are 100% correct.

After CC Thailand and Catharina have given their final "okays" to the
XHTML on the staging server, the licenses will be ready to go live.

3. Press Release

Finally, as mentioned in a previous email, CCi and the Project Leads
customarily prepare a press release for the launch of the licenses. As
we approach the finalization of the XHTML files, I would like to
request a statement from the CC Thailand team for the press release.
Ideally, this statement would be about the team's goals for the
project and your motivations for beginning it.

As the press release is being drafted, we can coordinate its
translation and dissemnation.

So to conclude: Phichai, thank you again for sending the revised legal
codes. Arthit, I look forward to working with you on uploading the
XHTML files, and with the CC Thailand team on the final proofreading.

I wish you all the best, and as always, please feel free to contact me
with any questions or concerns!

Regards,

Michelle

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 10, 2009, 10:08:13 PM2/10/09
to cctha...@googlegroups.com
สวัสดีครับ

ผมเพิ่งได้เข้ามา join group ครับ
จึงขออภัยด้วยหากความเห็นผมเคยมีการพูดคุยกันก่อนหน้านี้และได้ข้อสรุปกันไปแล้ว

ผมขออนุญาตแสดงความเห็นว่า ถ้าอ่านย่อหน้าแรก (ตั้งแต่ "งานได้จัดให้ใช้...") จะรู้สึกว่า
การใช้คำ ยังขาด specification ในส่วนของคำว่า "งาน" ซึ่งดูเหมือนจะแปลมาจากว่า "The
work" น่าจะต้องคงความหมายจาก article "the" ไว้ด้วย
(ไม่เช่นนั้นลองอ่านดูทั้งประโยคแล้วจะรู้สึกขัดๆ ครับ) ผมเสนอให้แก้เป็น "งานนี้" หรือ
"งานชิ้นนี้" หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีวงเล็บไว้ตามภาษาอังกฤษว่า "งาน (ตามที่มีคำนิยามข้างล่างนี้)"
ครับ (ซึ่งภาษาอังกฤษก็มีวงเล็บไว้ด้วย) และผมคิดว่าประเด็นนี้น่าจะมีความสำคัญ เพื่อให้
license เหล่านี้ มีความจำเพาะมากพอที่จะ enforce ได้ในทางกฎหมายครับ

หากประเด็นนี้เคยตกลงกันแล้วหรือท่านใดไม่เห็นด้วย ช่วยชี้แนะด้วยครับ

ไว้ถ้ามีเวลาจะช่วยเป็น fresh eyes proofread ให้อีกทีครับ

นวนรรน

piyabutr bunaramrueang

unread,
Feb 10, 2009, 10:10:02 PM2/10/09
to cctha...@googlegroups.com
สวัสดีครับ
ผมอยากมีส่วนช่วยตรวจทานครับ ซึ่งพอลองอ่านดูวรรคแรกของ
http://staging.creativecommons.org/licenses/by/3.0/th/legalcode
ก็มีข้อเสนอแก้ไขมาดังต่อไปนี้
วรรค 1
ข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงอนุญาตให้ใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซี (ต่อไปจะเรียกว่า
“ซีซีพีแอล”)
งานที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่นที่มีผลใช้บังคับได้
ห้ามนำงานดังกล่าวไปใช้โดยประการอื่นนอกจากการใช้ที่ได้รับอนุญาตในที่นี้หรือตามกฎหมายลิขสิทธิ์

เลยไม่แน่ใจว่าจะเหมาะสมแค่ไหนอย่างไร เลยส่งมาให้ดูก่อน ถ้าคิดว่าพอจะมีประโยชน์จะได้
ทำตามแนวทางผมนี้ต่อไปครับ

ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 11, 2009, 12:17:21 PM2/11/09
to cctha...@googlegroups.com
ขอบคุณทุกความเห็นนะครับ
ผมขออนุญาตชี้แจงทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อน
เรื่องจุดประสงค์และความคาดหมายของขั้นตอนการอ่านตรวจทานนี้ครับ

เท่าที่ผมเข้าใจ ในขั้นตอนนี้ เราคงไม่สามารถแก้ใหญ่แบบทั้งย่อหน้าได้แล้วครับ
เพราะร่างฉบับปัจจุบันนี้เป็นฉบับที่ได้แปลกลับเป็นภาษาอังกฤษและทาง CCi
ได้ตรวจแล้ว
(หลังจากได้ผ่านขั้นตอนเปิดให้สาธารณะร่วมกันแสดงความเห็นมา 2 รอบในปีที่แล้ว)

ที่ยังแก้ได้อยู่คือ คำผิด คำตกหล่น (ที่เสนอมาว่า "งาน"/"งานชิ้นนี้"
อาจจะจัดเป็นประเภทนี้ก็ได้)
คำเกิน คำที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างฉบับ รวมถึงเครื่องหมายวรรคตอน ลักษณะนี้ครับ

ต้องขออภัยทุกท่านด้วย แต่เรามีเงื่อนไขเรื่องเวลาอยู่
(โอเค เว้นว่าเป็นเรื่องร้ายแรงในสาระสำคัญจริง ๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้
ก็อาจจำเป็นต้องแก้ไขและให้ CCi พิจารณาใหม่อีกที
- แต่นั่นคงต้องเป็นกรณียกเว้นจริง ๆ ครับ)

ขอบคุณทั้งคุณปิยะบุตรและนวนรรน และทุก ๆ คนครับ

อาท

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 11, 2009, 7:48:51 PM2/11/09
to cctha...@googlegroups.com
ผมช่วยตรวจทานให้ในส่วนของ by ก่อนครับ ตามที่แนบ (หวังว่าคงจะอ่านลายมือผมออกนะครับ) :)

ตอนแรกผมพยายาม cross-check สองภาษา
แต่ดูเหมือนจะมีเจตนาที่จะใส่เนื้อหาไม่ตรงกันคำต่อคำอย่าง verbatim (เช่น ดูคำนิยามคำแรกๆ
ซึ่งสองภาษามีเนื้อหาไม่เท่ากัน และไม่ได้แปลคำต่อคำ แต่ใจความโดยรวมก็ไม่ต่างกันมาก
เพียงแค่ขาด clarification บางประเด็นเท่านั้น) ผมเลยไม่ได้ตรวจสอบสองภาษาอีกครับ
และมุ่งที่จะดูว่ามีคำที่ใช้ไม่เหมาะสมหรืออ่านแล้วขัดๆ หรือไม่ รวมทั้งเรื่องสะกดคำ และ
formatting เท่านั้น

เรื่องสะกดคำ ผมคิดว่าคงจะต้องตัดวรรคหน้าไม้ยมกออกให้หมดครับ
(แต่วรรคหลังไม้ยมกเก็บเอาไว้)
(ผมตรวจสอบดูการใช้วรรคตอนหน้าและหลังไม้ยมกในตัวกฎหมายในราชกิจจานุเบกษาแล้วครับ)

อีกเรื่องที่เป็น comment สำคัญคือเรื่อง numbering system ซึ่งถ้าอ่านดูจะเห็นความขัดแย้ง
เช่น อ้างอิงข้อ 4.2 แต่จริงๆ มีเพียงข้อ 2 ใต้ข้อ 4
(ซึ่งแม้ว่าทุกคนจะเข้าใจตรงกันว่าเจตนาคืออะไร แต่ทำให้การ reference ลำบากขึ้น
เกิดโอกาสที่จะไปมองผิดข้อได้) ผมเดาว่าเจตนาที่ไม่ได้ใช้ 3.1, 3.2, 4.1, ...
เพราะดูเหมือนจะเกะกะ แต่ก็อาจจะแก้ได้ง่ายๆ (และใช้กันบ่อยในตัวบทกฎหมาย) เป็น
3. ..........
(1) .....
(2) .....

แล้วอ้างอิงว่า 3 (1) แทน เป็นต้นครับ

ผมยังไม่ได้ตรวจดูในส่วนของ license อื่นๆ
แต่ถ้าเห็นด้วยกับความเห็นผมแล้วแนะนำว่าควรจะแก้ไปในทางเดียวกันทุก license ครับ

Hope this helps,

นวนรรน

by.pdf

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 11, 2009, 9:14:29 PM2/11/09
to cctha...@googlegroups.com
ขอบคุณมากครับ ขอตอบเร็ว ๆ ก่อน

* เรื่อง numbering นี้ กำลังแก้ไขอยู่ครับ โดยที่ตั้งใจไว้ จะเป็นลักษณะ
1, 1.1, 1.1.1, 1.1.2, ...
* คุณนวนรรนเข้าใจถูกต้องแล้วครับ สัญญาอนุญาตในฉบับของประเทศไทย
ไม่ได้เป็นการแปลแบบตามตัว verbatim แต่เน้นปรับ (port) ให้ใช้กับประเทศไทยได้
ซึ่งก็อาจมีบางส่วนที่ไม่ตรงในข้อความกับฉบับ Unported ครับ
โดยจะเน้นเอาใจความเสียมากกว่า
เช่นในส่วนนิยาม ในฉบับของไทย มีนิยาม "ลิขสิทธิ์" ไว้ด้วย
ในขณะที่ฉบับ Unported ไม่มีครับ

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 15, 2009, 5:17:25 AM2/15/09
to cctha...@googlegroups.com
ผมเจอตัวสะกดผิดพลาดใน "ประกาศของซีซี" ท้าย license ทุก license ครับ

คำว่า เว็บไซด์ ต้องสะกดด้วย ต เต่า ครับ ไม่ใช่ ด เด็ก และถ้าจะใช้ศัพท์บัญญัติ ต้องใช้ว่า
ที่อยู่เว็บ ครับ (อันนี้แล้วแต่พิจารณาครับว่าจะยังคงเลือกใช้ทับศัพท์หรือเปล่า ผมไม่มี preference
ระหว่าง เว็บไซต์ กับ ที่อยู่เว็บ ครับ

กำลังตรวจดูเนื้อหาอยู่ต่อเนื่องจากที่ comment เมื่อครั้งก่อน แล้วจะ confirm อีกทีเมื่อเสร็จครับ

นวนรรน

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 15, 2009, 6:16:53 AM2/15/09
to cctha...@googlegroups.com
ผมช่วยเป็น fresh eyes ในการ proofread license ทุกฉบับแล้ว มีความเห็นสรุปดังนี้ครับ

1. โดยรวม ไม่พบข้อผิดพลาดในการสะกดคำ นอกเหนือจากคำว่า "เว็บไซต์" ที่ผมบอกมาก่อนหน้านี้แล้ว

2. ขออนุญาตเรียนย้ำในเรื่องการเว้นวรรคหน้าไม้ยมกซึ่งควรจะตัดทิ้งทุกแห่งครับ และในเรื่องของ
numbering system ที่ควรจะสอดคล้องกัน (ระหว่างตัว numbered list กับ item
ที่อ้างถึงในเนื้อหา)

3. ในทุก license จะใช้คำว่า "ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต" แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็น
"ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต" มากกว่าครับ เพราะ grammar ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง คือ (something)
on the Internet หากใช้ว่า (something) in the Internet ถือว่าผิด grammar
ร้อยเปอร์เซ็นต์

4. ผมคิดว่า by license ข้อ 4.2 ย่อหน้าที่สอง

"การระบุชื่อตามที่ได้กำหนดในข้อ 4.2 นี้ อาจทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม
ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม อย่างน้อยต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์
ที่มีส่วนร่วมในการทำงานดัดแปลงหรืองานรวบรวมนั้นทุกคน โดยมีความโดดเด่นใกล้เคียงกัน"

ซึ่งแปลมาจาก

"The credit required by this Section 4 (b) may be implemented in any
reasonable manner; provided, however, that in the case of a Adaptation
or Collection, at a minimum such credit will appear, if a credit for all
contributing authors of the Adaptation or Collection appears, then as
part of these credits and in a manner at least as prominent as the
credits for the other contributing authors."

น่าจะมีข้อความไม่ตรงกันครับ

เนื้อหาต้นฉบับภาษาอังกฤษ เจตนาให้หมายความว่า หากงานดัดแปลงหรืองานรวบรวมนั้น
มีเครดิตสำหรับผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวมทุกคน เครดิตของผู้สร้างสรรค์ (ต้นฉบับ)
จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของเครดิตของผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวมนี้
และต้องมีความโดดเด่นอย่างน้อยเช่นเดียวกับเครดิตของผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวมเหล่านั้น

ข้อผิดพลาดในภาษาไทยคือ

(1) ที่บอกว่าต้องระบุชื่อของ *ผู้สร้างสรรค์ที่มีส่วนร่วมในการทำงานดัดแปลงหรืองานรวบรวมนั้น*
(ซึ่งการระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ที่มีส่วนร่วมในงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม
เป็นเรื่องของผู้ที่ร่วมกันดัดแปลงหรือรวบรวม ไม่ใช่เรื่องของผู้สร้างสรรค์ (ต้นฉบับ)
และหากจะอ้างว่าคำว่าผู้สร้างสรรค์ในประโยคดังกล่าว หมายถึงผู้สร้างสรรค์ (ต้นฉบับ)
คือผู้สร้างสรรค์งานที่ใช้ license อันนี้ ก็เป็นเรื่องที่กำหนดไว้แล้วข้างบน
(2) คำว่า *ทุกคน* แปลผิดประเด็นครับ
ต้นฉบับเจตนาจะหมายความถึงเครดิตสำหรับผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวม
และต้องการจะให้หมายความว่าถ้ามีเครดิตสำหรับผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวม
จะต้องมีเครดิตของผู้สร้างสรรค์ (ต้นฉบับ) เป็นส่วนหนึ่งของเครดิตนั้นด้วย
ประเด็นนี้ยังตกหล่นในภาษาไทยครับ คำว่า "ทุกคน" ไม่มีความสำคัญเท่าไรเลยในกรณีนี้
แต่ที่สำคัญกว่าคือ เครดิตของผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นส่วนหนึ่งของเครดิตของผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวมด้วย
(3) ที่บอกว่า "โดยมีความโดดเด่นใกล้เคียงกัน" ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า "at least as
prominent" ซึ่งควรจะหมายความว่า "มีความโดดเด่นอย่างน้อยเช่นเดียวกับ..." (คือ
ถ้าจะทำให้เครดิตของผู้สร้างสรรค์โดดเด่นกว่า (ไม่ได้ใกล้เคียงกัน) ก็ไม่ว่า
ขอแค่อย่าให้น้อยหน้าผู้ดัดแปลงหรือผู้รวบรวมก็พอ)

ผมคิดว่าในย่อหน้านี้ เป็น critical error ที่ควรได้รับการแก้ไขครับ

อย่าลืมแก้ไขใน license อื่นๆ ที่ใช้ข้อความทำนองเดียวกันครับ ผมยกตัวอย่างมาเฉพาะจาก by
license

5. ผมไม่ได้ตรวจเนื้อหาและการแปลความหมายในส่วนอื่น เพราะเน้นที่การสะกดคำ และผมเข้ามา
join ทีหลังจึงอาจจะสายไปที่จะ comment ในส่วนของเนื้อหา
(ยกเว้นที่ผมเห็นว่าผิดชัดเจนอย่างข้อ 4 ข้างต้น) จึงไม่สามารถบอกได้ว่าคำแปลถูกต้องหรือไม่ครับ


นวนรรน

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 15, 2009, 1:12:04 PM2/15/09
to cctha...@googlegroups.com
ขอบคุณมากครับ จะรวบรวมเพื่อแก้ไขต่อไปครับ

ท่านอื่นมีความเห็นอย่างไร โพสต์เลยนะครับ

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 15, 2009, 9:00:29 PM2/15/09
to cctha...@googlegroups.com
ขออนุญาตเพิ่มอีกหนึ่ง comment ครับ

ใน by-nc, by-nc-nd, และ by-nc-sa licenses จะมีคำว่า
"วัตถุประสงค์เพื่อไม่ใช่การค้า" ซึ่งแปลมาจาก "a purpose or use which is otherwise
than noncommercial" ซึ่งผมคิดว่าคำแปลภาษาไทยมันขัดๆ กับไวยากรณ์ภาษาไทยอยู่ครับ
ผมเสนอให้ใช้คำว่า "วัตถุประสงค์ที่มิใช่เพื่อการค้า" หรือ "วัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เพื่อการค้า"
ซึ่งยังคงความหมายเดิม (และจริงๆ แล้วตรงกับต้นฉบับภาษาอังกฤษมากกว่าด้วย)
รวมทั้งภาษาไทยสละสลวยและถูกหลักไวยากรณ์กว่าครับ

นวนรรน :)

Sarinee Achavanuntakul

unread,
Feb 15, 2009, 9:11:21 PM2/15/09
to cctha...@googlegroups.com
ต้องขอบคุณคุณนวนรรณมากๆ เลยค่ะ สำหรับการอ่านอย่างละเอียด :)

เห็นด้วยว่าควรใช้ "วัตถุประสงค์ที่มิใช่เพื่อการค้า"

เพิ่งมีเวลามาอ่าน legal code ภาษาไทย จะค่อยๆ รวบรวมให้อาทนะคะ

ก่อนอื่น ประโยคสุดท้ายที่ว่า " ซีซี​สามารถ​ติดต่อทางอินเทอร์​เน็ต​ได้​ที่​ http://creativecommons.org/

น่าจะแก้เป็น "ท่านสามารถติดต่อซีซีทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://creativecommons.org/"

อาท - cut-off date ของเราคือเมื่อไหร่เหรอคะ หรือแก้ไปเรื่อยๆ ได้?

ยุ้ย

2009/2/16 Nawanan Theera-Ampornpunt <naw...@rama33.com>

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 15, 2009, 9:25:09 PM2/15/09
to cctha...@googlegroups.com
ด้วยความยินดีครับ ตอนนี้ผมเรียนอยู่ที่อเมริกา และเห็นความนิยมในเรื่อง creativecommons
ที่มากขึ้นในวงการนักการศึกษาและ librarians
เลยได้เข้าไปศึกษารายละเอียดและอยากจะให้เวอร์ชั่นภาษาไทยเราคลอดเร็วๆ ครับ
เอาใจช่วยทีมงานเต็มที่ :)

เห็นด้วยกับ comment ที่แนะนำให้แก้ไขเป็น "ท่านสามารถติดต่อซีซีทางอินเทอร์เน็ตได้ที่
http://creativecommons.org/" ครับ ผมรู้สึกเหมือนกันแต่แรก แต่เห็นว่า comment
ไปหลายอันละ เลยปล่อยให้ท่านอื่นๆ comment บ้าง :P

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมก็เพิ่งมีโอกาสบรรยายผ่านระบบ teleconference
ในงานประชุมวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เกี่ยวกับเรื่อง health informatics
in Thailand โดยใช้และแสดง license by-nc ของ CC (unported version) บนสไลด์
และก็หวังว่าจะเป็นตัวช่วย trigger ให้ผู้ที่อยู่ใน field เวชสารสนเทศ
และวงการสาธารณสุขของเมืองไทยรู้จักและหันมาสนใจ CC มากขึ้นครับ

นวนรรน (นรรน)

---
นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์
งานเวชสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

Ph.D. Student in Health Informatics
University of Minnesota, USA

Sarinee Achavanuntakul wrote:
> ต้องขอบคุณคุณนวนรรณมากๆ เลยค่ะ สำหรับการอ่านอย่างละเอียด :)
>
> เห็นด้วยว่าควรใช้ "วัตถุประสงค์ที่มิใช่เพื่อการค้า"
>
> เพิ่งมีเวลามาอ่าน legal code ภาษาไทย จะค่อยๆ รวบรวมให้อาทนะคะ
>
> ก่อนอื่น ประโยคสุดท้ายที่ว่า " ซีซี​สามารถ​ติดต่อทางอินเทอร์​เน็ต​ได้​ที่​
> http://creativecommons.org/
>
> น่าจะแก้เป็น "ท่านสามารถติดต่อซีซีทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://creativecommons.org/"
>
> อาท - cut-off date ของเราคือเมื่อไหร่เหรอคะ หรือแก้ไปเรื่อยๆ ได้?
>
> ยุ้ย
>
> 2009/2/16 Nawanan Theera-Ampornpunt <naw...@rama33.com

> <mailto:naw...@rama33.com>>

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 19, 2009, 3:00:17 PM2/19/09
to cctha...@googlegroups.com
ตอนนี้แก้
1. คำว่า "เว็บไซต์" ที่สะกดผิด
2. ใช้ "วัตถุประสงค์ที่มิใช่เพื่อการค้า"
3. ใช้ "ท่านสามารถติดต่อซีซีทางอินเทอร์เน็ตได้ที่"

จะส่งให้ Nathan เพื่อนำขึ้น staging server ต่อไปครับ
ระหว่างก็ยังส่งการแก้ไขมาได้เรื่อย ๆ ครับ

> อาท - cut-off date ของเราคือเมื่อไหร่เหรอคะ หรือแก้ไปเรื่อยๆ ได้?

ตอนแรกตั้งใจไว้ว่า ถ้าไม่มีแก้ไขอะไรมาก ได้วันที่ 20 นี้ ก็น่าจะโอเค
แต่ดูเหมือนจะมีที่คิดว่าอาจจะแก้ไขกันอีก ก็ยังดูกันไปได้เรื่อย ๆ ครับ
ทาง CCi ก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องนานเท่าไหร่ในขั้นนี้ ให้ตรวจได้จนกว่าจะสมบูรณ์
แต่ถ้าพูดในทางตารางกำหนดการเปิดตัว ก็น่าจะให้เสร็จทั้งหมดภายในเดือนนี้
หรือสัปดาห์แรกของเดือนหน้าครับ
เมื่อตรวจเสร็จจนโอเคแล้ว เราสามารถแจ้ง CCi ให้นำขึ้นเว็บไซต์ CC ได้เลยทันทีครับ

อาท

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 19, 2009, 3:11:45 PM2/19/09
to cctha...@googlegroups.com


ขอความคิดเห็นทุกท่านเรื่องนี้ด้วยครับ


อีกเรื่องคือตามที่คุณนวนรรนได้ให้ความเห็นใน attachment (ดูหมึกแดง) ว่า
น่าจะมีการประการศนิยามคำว่า "ซีซี" อีกครั้ง ในส่วนของสัญญาอนุญาต
โดยให้เหตุผลว่า นิยามคำว่า "ซีซี" นั้นประกาศเอาไว้ในส่วนของ Disclaimer
ซึ่งคุณนวนรรนเห็นว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอนุญาต
ตรงนี้ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็ถือเป็น critical error ที่ควรได้รับการแก้ไขครับ


ขอบคุณครับ
อาท

by.pdf

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 19, 2009, 3:22:13 PM2/19/09
to cctha...@googlegroups.com
ย่อหน้าแรก
ข้อเสนอจากคุณนวนรรน และ คุณปิยะบุตร

2009/2/11 Nawanan Theera-Ampornpunt <naw...@rama33.com>:


> ผมขออนุญาตแสดงความเห็นว่า ถ้าอ่านย่อหน้าแรก (ตั้งแต่ "งานได้จัดให้ใช้...") จะรู้สึกว่า
> การใช้คำ ยังขาด specification ในส่วนของคำว่า "งาน" ซึ่งดูเหมือนจะแปลมาจากว่า "The
> work" น่าจะต้องคงความหมายจาก article "the" ไว้ด้วย
> (ไม่เช่นนั้นลองอ่านดูทั้งประโยคแล้วจะรู้สึกขัดๆ ครับ) ผมเสนอให้แก้เป็น "งานนี้" หรือ
> "งานชิ้นนี้" หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีวงเล็บไว้ตามภาษาอังกฤษว่า "งาน (ตามที่มีคำนิยามข้างล่างนี้)"
> ครับ (ซึ่งภาษาอังกฤษก็มีวงเล็บไว้ด้วย) และผมคิดว่าประเด็นนี้น่าจะมีความสำคัญ เพื่อให้
> license เหล่านี้ มีความจำเพาะมากพอที่จะ enforce ได้ในทางกฎหมายครับ

2009/2/11 piyabutr bunaramrueang <piya...@gmail.com>:


> ข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงอนุญาตให้ใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซี
> (ต่อไปจะเรียกว่า "ซีซีพีแอล")
> งานที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่นที่มีผลใช้บังคับได้
> ห้ามนำงานดังกล่าวไปใช้โดยประการอื่นนอกจากการใช้ที่ได้รับอนุญาตในที่นี้หรือตามกฎหมายลิขสิทธิ์


ผมเอารุ่นปัจจุบันมาให้ดูเทียบด้วย
(เพื่อความชัวร์ ดูที่
http://staging.creativecommons.org/licenses/by/3.0/th/legalcode )

งานได้จัดให้ใช้ได้ตามข้อตกลงของสัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซีนี้


(ต่อไปจะเรียกว่า "ซีซีพีแอล")

งานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และหรือกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับ
ห้ามนำงานไปใช้อย่างอื่น นอกจากการใช้ที่ได้รับอนุญาตนี้หรือตามกฎหมายลิขสิทธิ์

โดยการใช้สิทธิใดๆ ต่องานซึ่งได้จัดให้นี้
ท่านตกลงยอมรับและผูกพันตน ตามข้อตกลงทั้งหลายของสัญญาอนุญาตนี้
ผู้อนุญาตมอบสิทธิที่ระบุไว้ในสัญญานี้ให้ท่าน
เพื่อตอบแทนท่านที่ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขทั้งหลายดังกล่าว
คำว่า "งาน" "ท่าน" และ "ผู้อนุญาต" ใช้คำนิยามตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้

Phisit Siprasatthong

unread,
Feb 21, 2009, 8:05:31 AM2/21/09
to cctha...@googlegroups.com
On 12 ก.พ., 07:48, Nawanan Theera-Ampornpunt <nawa...@rama33.com> wrote:
> เรื่องสะกดคำ ผมคิดว่าคงจะต้องตัดวรรคหน้าไม้ยมกออกให้หมดครับ
> (แต่วรรคหลังไม้ยมกเก็บเอาไว้)
> (ผมตรวจสอบดูการใช้วรรคตอนหน้าและหลังไม้ยมกในตัวกฎหมายในราชกิจจานุเบกษาแล้วครับ)

ส่วนตัวผมไม่ติดใจเท่าไรนักเรื่องการเว้นวรรคหน้า-หลังไม้ยมก
และผมพบว่าตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ในเว็บไซต์คณะกรรมการกฤษฎีกา
(http://www.krisdika.go.th/)
นั้นเขียนไม้ยมกโดยเว้นวรรคเฉพาะหลังตัวไม้ยมกจริงอย่างที่คุณนวนรรนแจ้งไว้
แต่ผมอยากชี้ว่าหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน (หลักเกณฑ์การเว้นวรรคที่
http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?SystemModuleKey=279&SystemMenuID=1&SystemMenuIDS=
และหลักเกณฑ์การใช้ไม้ยมกที่
http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?SystemModuleKey=271&SystemMenuID=1&SystemMenuIDS=)
ระบุว่า "เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมก
เสมอภาคหรือเท่ากับ ทวิภาค วิภัชภาค และเครื่องหมาย + ที่ใช้ในทางภาษา"
ซึ่งขัดกับการใช้ในตัวบทกฎหมายปัจจุบัน
หากแต่ต้องยอมรับว่าหากเราเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมกในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
(ในกรณีนี้คือ HTML) แล้ว
อาจเกิดปัญหาที่ไม้ยมกอยู่คนละบรรทัดกับข้อความที่ต้องการซ้ำได้
(คุณอาทิตย์ได้พยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้ &nbsp; ใน HTML
แทนการเว้นวรรคหน้าไม้ยมก)

อันที่จริงนอกจากเรื่องไม้ยมกแล้ว
ยังมีปัญหาเรื่องเว้นวรรคเล็ก-เว้นวรรคใหญ่ที่ราชบัณฑิตยสถานเสนอไว้
ซึ่งในทางปฏิบัติยังไม่มีมาตรฐานว่าจะใช้อย่างไรในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
แต่จะเกินขอบเขตของเรื่องที่เราอภิปรายกันอยู่นี้ อย่างไรก็ตาม
ขอขอบคุณคุณนวนรรน ตลอดจนท่านอื่น ๆ เป็นอย่างยิ่ง
ที่ได้สละเวลาช่วยตรวจทานสัญญาอนุญาตเหล่านี้ครับ

PH

unread,
Feb 22, 2009, 7:53:32 AM2/22/09
to cctha...@googlegroups.com, Worasete, kri...@dlo.co.th, siri...@dlo.co.th
ขอขอบคุณ คุณนวนรรน คุณปิยะบุตร คุณสฤณี คุณพิสิทย์และเพื่อนๆ ทุกคนทีได้ช่วยกัน proofread อย่างละเอียด และขออภัยที่ตลอด 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าผม ได้รับและติดตามข้อเสนอของทุกคน แต่ไม่อาจจัดเวลามาตอบได้

ผมขอตอบความเห็นและข้อเสนอต่างๆ ดังนี้

1.ที่คุณอาท สรุปว่า ตอนนี้ที่ได้แก้ไปแล้ว มี 4 ข้อ คือ

1.1. คำว่า "เว็บไซต์" ที่สะกดผิด
1.2. ใช้ "วัตถุประสงค์ที่มิใช่เพื่อการค้า"
1.3. ใช้ "ท่านสามารถติดต่อซีซีทางอินเทอร์เน็ตได้ที่"
1.4 ใช้ คำว่า "ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต" แทนคำว่า "ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต"


ผมเห็นด้วย ทั้ง 4 ข้อ ครับ
การแก้ 4 ข้อดังกล่าว จะมีผลต่อสัญญาฉบับภาษาไทย เท่านั้น
ไม่มีผลต่อฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ

2.เรื่องที่คุณนวนรรน เสนอให้แก้ไข ข้อความในสัญญา By-ข้อ 4.2
วรรคสอง ใหม่ ผมได้พิจารณาแล้ว เห็นด้วย จึงขอเสนอข้อความใหม่ ดังนี้ ครับ

" การระบุชื่อตามที่ได้กำหนดในข้อ 4.2 นี้ อาจทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม ถ้ามีการระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม  อย่างน้อย ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น ในลักษณะที่มีความโดดเด่นไม่น้อยกว่ากัน "

ผมจะแก้ไข ทุกสัญญา ที่ cc.in.th/wiki ตามที่แจ้งในเมลนี้ ต่อไป นะครับ

3. เรื่องถัดมา คือ เรื่องที่คุณนวนรรน เสนอให้ตัดวรรคหน้าไม้
ยมกออกให้หมด ด้วยเหตผลว่า กฎหมายในราชกิจจานุเบกษา ไม่ใช้วรรคตอนหน้าไม้ยมก นั้น

ผมได้ตรวจสอบหลักเกณฑ์การใช้ไม้ยมกและหลักเกณฑ์การเว้นวรรค ของราชบัณิตยสถาน ตามลิ้งที่คุณพิสิทย์ช่วยส่งให้ พบว่า สัญญาซีซีของโครงการ เว้นวรรคหน้าไม้ยมก นั้น ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานแล้วครับ

ผมได้ตรวจสอบ ตัวกฎหมายในราชกิจจานุเบกษาพบว่า ถ้าเป็นกฎหมายเก่าหรือกฎหมายหลักๆ เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ ก็จะเว้นวรรคหน้าไม้ยมก อย่างถูกต้อง เช่นเดียวกัน

ตัวกฎหมายที่ว่า ไม่มีเว้นวรรคหน้าไม้ยมก นั้นเป็นกฎหมายใหม่ บางฉบับ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากเจ้าหน้าที่พิมพ์ผิดพลาด ครับ

4.ที่คุณนวนรรนได้ให้ความเห็นใน attachment (ดูหมึกแดง) ว่า
น่าจะมีการประการศนิยามคำว่า "ซีซี" อีกครั้ง ในส่วนของสัญญาอนุญาต โดยให้เหตุผลว่า นิยามคำว่า "ซีซี" นั้นประกาศเอาไว้ในส่วนของ Disclaimer ซึ่งคุณนวนรรนเห็นว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอนุญาต

ขอเรียนว่า Creative Common Corporation ไม่ใช่คู่สัญญาของสัญญาอนุญาต ทั้ง 6 ฉบับ Creative Common Corporation เป็นเพียงผู้จัดให้มีสัญญาอนุญาตนี้ขึ้นเท่านั้น ตามที่ได้ disclaim ไว้

ไม่มีการอ้างอิงถึง Creative Common Corporation ในสัญญาอนุญาตทั้ง 6 ฉบับ มีแต่เฉพาะการอ้างอิงถึง สัญญาอนุญาตของซีซี
ดังนั้น การใช้คำว่า สัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซี จึงไม่ใช่
 critical error ดังที่คุณอาทว่ามา นะครับ

การใช้คำว่า สัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซี กับการใช้คำว่า
สัญญาอนุญาตสาธารณะของครีเอทีฟคอมมอนส์ ผลทางกฎหมายเหมือนกัน ตรงที่ เป็นการระบุถึง สัญญาชื่อเฉพาะ ที่ใช้เรียกขานชนิดหนึ่ง คือ จะเรียกว่าสัญญาซีซี สัญญาครีเอทีฟ หรือ สัญญาอื่น ก็ได้ ทั้งนั้น แล้วแต่จะกำหนดขึ้นมาว่า จะเรียกว่า อะไร

ผมจึงไม่เห็นประโยชน์หรือความจำเป็นอะไรในการแก้ไข ดังกล่าว
แต่ถ้าถามว่า ถ้าให้นิยามใหม่ จะเสียหายอะไรไหม ขอตอบว่า ก็ไม่เสียหายอะไรครับ ก็แค่ยาวขึ้นมาอีกวรรคหนึ่ง ผลก็เหมือนเดิม

5.ที่คุณนวนรรนได้ให้ความเห็นว่า คำว่า "งาน" ซึ่งดูเหมือนจะแปลมาจากว่า "The work" น่าจะต้องคงความหมายจาก article "the" ไว้ด้วย
(ไม่เช่นนั้นลองอ่านดูทั้งประโยคแล้วจะรู้สึกขัดๆ ) โดยเสนอให้แก้เป็น "งานนี้" หรือ "งานชิ้นนี้" หรืออย่างน้อยที่สุด ก็มีวงเล็บไว้ตามภาษาอังกฤษว่า "งาน (ตามที่มีคำนิยามข้างล่างนี้)" (ซึ่งภาษาอังกฤษ ก็มีวงเล็บไว้ด้วย) และคิดว่าประเด็นนี้ น่าจะมีความสำคัญ เพื่อให้ license เหล่านี้ มีความจำเพาะมากพอที่จะ enforce ได้ในทางกฎหมาย

ขอเรียนว่า คำว่า "งาน " คำเดียวที่ว่า ต้องแปลตามคำนิยามที่ระบุไว้
ในข้อ 1.6 คือ "งาน" หมายความว่า งานอันมีลิขสิทธิ์ที่เสนอให้ใช้ข้อตกลงของสัญญาอนุญาตนี้ 

ครั้นจะใช้คำว่า งานนี้ ก็อาจมีคำถามว่า แปลว่า งานไหน
ครั้นจะใช้คำว่า งานชิ้นนี้ ก็อาจมีคำถามว่า แปลว่า งานชิ้นไหน
ทั้งงานที่เสนอให้ใช้สัญญาอนุญาต อาจจะมีหลายชิ้น หรือเป็นกลุ่มงาน ก็ได้

คำนี้ ตอน porting ทีมงานสำนักกฎหมายธรรมนิติ ก็ได้มีการถกเถียงและมีคนเสนอให้ใช้คำว่า นี้ หรือ ชิ้นนี้ ต่อท้ายมาก่อนแล้วครับ แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ควรตัดออก เพราะไปจำกัด คำว่า งาน ให้แคบลง

สำหรับวงเล็บที่ว่า (ตามที่มีคำนิยามข้างล่างนี้) ทีมงานเห็นว่า ควรไประบุต่อท้ายว่า คำว่า "งาน" "ท่าน" และ "ผู้อนุญาต" ใช้คำนิยามตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ น่าจะเหมาะสมและครอบคลุมกว่าครับ

ประเด็นนี้ ไม่ทำให้เกิดปัญหาการบังคับใช้สัญญาอนุญาตนี้ ตามกฎหมายไทย ครับ

6. ที่คุณนวนรรน เสนอให้ตัด ข้อความว่า คำว่า "งาน" "ท่าน" และ "ผู้อนุญาต" ใช้คำนิยามตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ ตามไฟล์พีดีเอฟ ที่มาร์กด้วยสีแดง เหตุผลที่ได้เพิ่มเติม ได้ระบุเหตุผลไว้ว่า

"The highlighted part is added to make clear that these words, although used preceding the definition clause has the same meanings as given to them in the rest of the document  "

กรุณาดูเพิ่มเติม ได้ที่ http://cc.in.th/wiki/th_ccl_changes_f

7. ที่คุณปิยะบุตร เสนอว่า ให้แก้วรรค 1 เป็นว่า

ข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงอนุญาตให้ใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซี (ต่อไปจะเรียกว่า"ซีซีพีแอล")
งานที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว ได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายลิขสิทธิ์  หรือกฎหมายอื่นที่มีผลใช้บังคับได้ ห้ามนำงานดังกล่าวไปใช้โดยประการอื่น นอกจากการใช้ที่ได้รับอนุญาตในที่นี้ หรือตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ขอเรียนว่า ข้อความดังกล่าว ก็เป็นการแปลอีกสำนวนหนึ่ง แต่กระบวนการของเรา เลยขั้นตอน นั้นมาแล้ว ปัจจุบันคือ การ proofreading ซึ่งต้องยึดตามร่างเดิม และแก้ไขเฉพาะที่ผิดพลาด จริงๆ มิฉะนั้น จะใช้เวลามากไปเรื่อยๆและจบไม่ลงครับ

8. เรื่อง numbering system ผมดูตามตัวอย่างสัญญาล่าสุดที่อัพโหลดขึ้นไป เห็นว่า ใช้ได้ นะครับ

ผมคิดว่า ได้ให้ความเห็นและชี้แจงเหตุผลต่อทุกข้อเสนอแล้ว
ถ้ามีข้อไหน ตกหล่น กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย


PH





2009/2/20 Arthit Suriyawongkul <art...@gmail.com>

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 22, 2009, 11:32:29 AM2/22/09
to cctha...@googlegroups.com, Worasete, kri...@dlo.co.th, siri...@dlo.co.th
ขอบคุณมากครับสำหรับคำอธิบายอย่างครบถ้วนทุกประเด็นครับ
ผมไม่ขัดข้องกับประเด็นที่ไม่ได้แก้ไขตามที่ผมเสนอครับ เพราะหลายประเด็นเหล่านั้น
ผมพยายามเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ จึงเห็นความแตกต่าง
แต่ภายหลังเข้าใจว่าเป็นความแตกต่างโดยเจตนา และเมื่ออ่านทั้งฉบับแล้ว
ผมก็คิดว่าการไม่ได้แก้ไขก็ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาในสัญญาแต่อย่างใดครับ

เรื่องไม้ยมก ขอบคุณคุณพิสิทย์และคุณ PH
ที่ได้ค้นอย่างละเอียดและทำให้ผมทราบหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานที่ไม่เคยทราบครับ

สำหรับข้อความในข้อ 2 ที่คุณ PH แก้ไขมา หลักการโดยรวมดูเหมือนจะตรงกับภาษาอังกฤษแล้วครับ
แต่ดูเหมือนจะมีบางประเด็นที่ยังคงหลุดไป ผมขออนุญาตเสนอให้แก้ไขดังนี้ครับ
ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่และจะแก้ไขตามผมหรือไม่ ไม่ขัดข้องครับ

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ (ตัวเลขในแต่ละ license อาจจะไม่ตรงกัน คงต้องดูให้ดีด้วยนะครับ)

"The credit required by this Section 4 (b) may be implemented in any
reasonable manner; provided, however, that in the case of a Adaptation
or Collection, at a minimum such credit will appear, if a credit for all
contributing authors of the Adaptation or Collection appears, then as
part of these credits and in a manner at least as prominent as the
credits for the other contributing authors."

ข้อความที่คุณ PH เสนอ

"การระบุชื่อตามที่ได้กำหนดในข้อ 4.2 นี้ อาจทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้
ในกรณีที่เป็นงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม
ถ้ามีการระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม อย่างน้อย
ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น
ในลักษณะที่มีความโดดเด่นไม่น้อยกว่ากัน "

ข้อความที่ผมเสนอ

"การระบุชื่อตามที่ได้กำหนดในข้อ 4.2 นี้ อาจทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้
ในกรณีที่เป็นงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม

ถ้ามีการระบุชื่อของผู้ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวมทุกคน อย่างน้อย
ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานที่นำมาใช้ เป็นส่วนหนึ่งของการระบุชื่อนั้น
ในลักษณะที่มีความโดดเด่นไม่น้อยกว่ากันด้วย"

เจตนาที่แก้ไข
1. หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ในการพูดถึง contributing authors
ของงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม เพราะอาจเข้าใจว่าหมายถึงผู้สร้างสรรค์ที่นิยามไว้ก็ได้
2. เพิ่มคำว่า ทุกคน เพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ
(กรณีนี้ผมยังไม่เข้าใจว่าเจตนาและเหตุผลของฉบับภาษาอังกฤษ ในการใช้คำว่า all คืออะไรแน่
เพียงแต่เสนอให้แก้ไขให้สอดคล้องกับภาษาอังกฤษครับ
ถ้าเรายังไม่เข้าใจชัดเจนอาจจะต้องลองสอบถาม CC ดูว่า all เป็น operative word
ที่สำคัญใน paragraph นี้หรือไม่)
3. แก้ไขคำว่า "ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น" เป็น
"ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานที่นำมาใช้" เพื่อ clarify ให้ชัดว่าหมายถึง "ผู้สร้างสรรค์"
ของงานต้นฉบับ ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนดัดแปลงหรือรวบรวมงาน
(หากมีคำที่สวยกว่าที่ผมใช้ ก็เปลี่ยนได้เลยครับ)
4. เพิ่มคำว่า "เป็นส่วนหนึ่งของการระบุชื่อนั้น" เพื่อให้ตรงกับข้อความภาษาอังกฤษว่า "then as
part of these credits"

นวนรรน

PH wrote:
> ขอขอบคุณ คุณนวนรรน คุณปิยะบุตร คุณสฤณี คุณพิสิทย์และเพื่อนๆ ทุกคนทีได้ช่วยกัน proofread
> อย่างละเอียด และขออภัยที่ตลอด 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าผม
> ได้รับและติดตามข้อเสนอของทุกคน แต่ไม่อาจจัดเวลามาตอบได้
>
> ผมขอตอบความเห็นและข้อเสนอต่างๆ ดังนี้
>
> 1.ที่คุณอาท สรุปว่า ตอนนี้ที่ได้แก้ไปแล้ว มี 4 ข้อ คือ
>
> 1.1. คำว่า "เว็บไซต์" ที่สะกดผิด
> 1.2. ใช้ "วัตถุประสงค์ที่มิใช่เพื่อการค้า"
> 1.3. ใช้ "ท่านสามารถติดต่อซีซีทางอินเทอร์เน็ตได้ที่"
> 1.4 ใช้ คำว่า "ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต" แทนคำว่า "ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต"
>
>
> ผมเห็นด้วย ทั้ง 4 ข้อ ครับ
> การแก้ 4 ข้อดังกล่าว จะมีผลต่อสัญญาฉบับภาษาไทย เท่านั้น
> ไม่มีผลต่อฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ
>
> 2.เรื่องที่คุณนวนรรน เสนอให้แก้ไข ข้อความในสัญญา By-ข้อ 4.2
> วรรคสอง ใหม่ ผมได้พิจารณาแล้ว เห็นด้วย จึงขอเสนอข้อความใหม่ ดังนี้ ครับ
>
> " การระบุชื่อตามที่ได้กำหนดในข้อ 4.2 นี้ อาจทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้
> ในกรณีที่เป็นงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม

> *ถ้ามีการระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม* อย่างน้อย
> ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์*คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น
> ในลักษณะที่*มีความโดดเด่นไม่น้อยกว่ากัน "
>
> ผมจะแก้ไข ทุกสัญญา ที่ cc.in.th/wiki <http://cc.in.th/wiki> ตามที่แจ้งในเมลนี้


> ต่อไป นะครับ
>
> 3. เรื่องถัดมา คือ เรื่องที่คุณนวนรรน เสนอให้ตัดวรรคหน้าไม้
> ยมกออกให้หมด ด้วยเหตผลว่า กฎหมายในราชกิจจานุเบกษา ไม่ใช้วรรคตอนหน้าไม้ยมก นั้น
>
> ผมได้ตรวจสอบหลักเกณฑ์การใช้ไม้ยมกและหลักเกณฑ์การเว้นวรรค ของราชบัณิตยสถาน
> ตามลิ้งที่คุณพิสิทย์ช่วยส่งให้ พบว่า สัญญาซีซีของโครงการ เว้นวรรคหน้าไม้ยมก นั้น
> ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานแล้วครับ
>
> ผมได้ตรวจสอบ ตัวกฎหมายในราชกิจจานุเบกษาพบว่า ถ้าเป็นกฎหมายเก่าหรือกฎหมายหลักๆ
> เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ ก็จะเว้นวรรคหน้าไม้ยมก
> อย่างถูกต้อง เช่นเดียวกัน
>
> ตัวกฎหมายที่ว่า ไม่มีเว้นวรรคหน้าไม้ยมก นั้นเป็นกฎหมายใหม่ บางฉบับ
> ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากเจ้าหน้าที่พิมพ์ผิดพลาด ครับ
>
> 4.ที่คุณนวนรรนได้ให้ความเห็นใน attachment (ดูหมึกแดง) ว่า
> น่าจะมีการประการศนิยามคำว่า "ซีซี" อีกครั้ง ในส่วนของสัญญาอนุญาต โดยให้เหตุผลว่า
> นิยามคำว่า "ซีซี" นั้นประกาศเอาไว้ในส่วนของ Disclaimer
> ซึ่งคุณนวนรรนเห็นว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอนุญาต
>
> ขอเรียนว่า Creative Common Corporation ไม่ใช่คู่สัญญาของสัญญาอนุญาต ทั้ง 6 ฉบับ
> Creative Common Corporation เป็นเพียงผู้จัดให้มีสัญญาอนุญาตนี้ขึ้นเท่านั้น ตามที่ได้
> disclaim ไว้
>
> ไม่มีการอ้างอิงถึง Creative Common Corporation ในสัญญาอนุญาตทั้ง 6 ฉบับ

> มีแต่เฉพาะการอ้างอิงถึง *สัญญาอนุญาตของซีซี*


> ดังนั้น การใช้คำว่า สัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซี จึงไม่ใช่
> critical error ดังที่คุณอาทว่ามา นะครับ
>
> การใช้คำว่า สัญญาอนุญาตสาธารณะของซีซี กับการใช้คำว่า
> สัญญาอนุญาตสาธารณะของครีเอทีฟคอมมอนส์ ผลทางกฎหมายเหมือนกัน ตรงที่ เป็นการระบุถึง
> สัญญาชื่อเฉพาะ ที่ใช้เรียกขานชนิดหนึ่ง คือ จะเรียกว่าสัญญาซีซี สัญญาครีเอทีฟ หรือ สัญญาอื่น ก็ได้
> ทั้งนั้น แล้วแต่จะกำหนดขึ้นมาว่า จะเรียกว่า อะไร
>
> ผมจึงไม่เห็นประโยชน์หรือความจำเป็นอะไรในการแก้ไข ดังกล่าว
> แต่ถ้าถามว่า ถ้าให้นิยามใหม่ จะเสียหายอะไรไหม ขอตอบว่า ก็ไม่เสียหายอะไรครับ
> ก็แค่ยาวขึ้นมาอีกวรรคหนึ่ง ผลก็เหมือนเดิม
>
> 5.ที่คุณนวนรรนได้ให้ความเห็นว่า คำว่า "งาน" ซึ่งดูเหมือนจะแปลมาจากว่า "The work"
> น่าจะต้องคงความหมายจาก article "the" ไว้ด้วย
> (ไม่เช่นนั้นลองอ่านดูทั้งประโยคแล้วจะรู้สึกขัดๆ ) โดยเสนอให้แก้เป็น "งานนี้" หรือ "งานชิ้นนี้"
> หรืออย่างน้อยที่สุด ก็มีวงเล็บไว้ตามภาษาอังกฤษว่า "งาน (ตามที่มีคำนิยามข้างล่างนี้)"
> (ซึ่งภาษาอังกฤษ ก็มีวงเล็บไว้ด้วย) และคิดว่าประเด็นนี้ น่าจะมีความสำคัญ เพื่อให้ license
> เหล่านี้ มีความจำเพาะมากพอที่จะ enforce ได้ในทางกฎหมาย
>
> ขอเรียนว่า คำว่า "งาน " คำเดียวที่ว่า ต้องแปลตามคำนิยามที่ระบุไว้

> ในข้อ 1.6 คือ *"งาน"* *หมายความว่า งานอันมีลิขสิทธิ์ที่เสนอให้ใช้ข้อตกลงของสัญญาอนุญาตนี้*

>
> ครั้นจะใช้คำว่า งานนี้ ก็อาจมีคำถามว่า แปลว่า งานไหน
> ครั้นจะใช้คำว่า งานชิ้นนี้ ก็อาจมีคำถามว่า แปลว่า งานชิ้นไหน
> ทั้งงานที่เสนอให้ใช้สัญญาอนุญาต อาจจะมีหลายชิ้น หรือเป็นกลุ่มงาน ก็ได้
>
> คำนี้ ตอน porting ทีมงานสำนักกฎหมายธรรมนิติ ก็ได้มีการถกเถียงและมีคนเสนอให้ใช้คำว่า นี้
> หรือ ชิ้นนี้ ต่อท้ายมาก่อนแล้วครับ แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ควรตัดออก เพราะไปจำกัด คำว่า

> *งาน* ให้แคบลง
>
> สำหรับวงเล็บที่ว่า (ตามที่มีคำนิยามข้างล่างนี้) ทีมงานเห็นว่า ควรไประบุต่อท้ายว่า *คำว่า
> "งาน" "ท่าน" และ "ผู้อนุญาต" ใช้คำนิยามตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้*


> น่าจะเหมาะสมและครอบคลุมกว่าครับ
>
> ประเด็นนี้ ไม่ทำให้เกิดปัญหาการบังคับใช้สัญญาอนุญาตนี้ ตามกฎหมายไทย ครับ
>

> 6. ที่คุณนวนรรน เสนอให้ตัด ข้อความว่า *คำว่า "งาน" "ท่าน" และ "ผู้อนุญาต"
> ใช้คำนิยามตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้* ตามไฟล์พีดีเอฟ ที่มาร์กด้วยสีแดง เหตุผลที่ได้เพิ่มเติม

PH

unread,
Feb 22, 2009, 12:11:57 PM2/22/09
to cctha...@googlegroups.com, Worasete, kri...@dlo.co.th, siri...@dlo.co.th


2009/2/22 Nawanan Theera-Ampornpunt <naw...@rama33.com>
คำว่า author หมายถึง ผู้ทำหรือสร้างสรรค์งาน
คำว่า contributing authors of the Adaptation or Collection หมายถึง  ผู้ทำหรือสร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม
ผมจึงไม่เห็นความจำเป็นในการไปหลีกเลี่ยง ครับ

2. เพิ่มคำว่า ทุกคน เพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ
(กรณีนี้ผมยังไม่เข้าใจว่าเจตนาและเหตุผลของฉบับภาษาอังกฤษ ในการใช้คำว่า all คืออะไรแน่
เพียงแต่เสนอให้แก้ไขให้สอดคล้องกับภาษาอังกฤษครับ
ถ้าเรายังไม่เข้าใจชัดเจนอาจจะต้องลองสอบถาม CC ดูว่า all เป็น operative word
ที่สำคัญใน paragraph นี้หรือไม่)

คำว่า ทุกคน มีผลเป็นการจำกัด การระบุชื่อ ซึ่งขัดแย้งกับเจตนารมย์ของสัญญาฯ เพราะเมื่อใส่ไปแล้ว ผลคือ ในกรณีมีผู้รวบรวมหรือดัดแปลง หลายคน ผลบังคับให้ระบุชื่อผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ จะเกิดขึ้น 
ต่อเมื่อมีการระบุชื่อผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวมทุกคน


3. แก้ไขคำว่า "ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น" เป็น
"ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานที่นำมาใช้" เพื่อ clarify ให้ชัดว่าหมายถึง "ผู้สร้างสรรค์"
ของงานต้นฉบับ ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนดัดแปลงหรือรวบรวมงาน
(หากมีคำที่สวยกว่าที่ผมใช้ ก็เปลี่ยนได้เลยครับ)

 คำว่า other contributing authors ไม่ตรงกับคำที่เสนอว่า ผู้สร้างสรรค์งานที่นำมาใช้ นะครับ แต่ตรงกับ คำว่า ผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น

4. เพิ่มคำว่า "เป็นส่วนหนึ่งของการระบุชื่อนั้น" เพื่อให้ตรงกับข้อความภาษาอังกฤษว่า "then as
part of these credits"

ไม่มีคำที่ว่า ความหมายก็เหมือนเดิม ครับ

Nawanan Theera-Ampornpunt

unread,
Feb 22, 2009, 12:40:53 PM2/22/09
to cctha...@googlegroups.com, Worasete, kri...@dlo.co.th, siri...@dlo.co.th

PH wrote:
>
>
> 2009/2/22 Nawanan Theera-Ampornpunt <naw...@rama33.com
> <mailto:naw...@rama33.com>>
>
>
> เจตนาที่แก้ไข
> 1. หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ในการพูดถึง contributing authors
> ของงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม เพราะอาจเข้าใจว่าหมายถึงผู้สร้างสรรค์ที่นิยามไว้ก็ได้
>
>
> คำว่า author หมายถึง ผู้ทำหรือสร้างสรรค์งาน
> คำว่า contributing authors of the Adaptation or Collection หมายถึง
> ผู้ทำหรือสร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม
> ผมจึงไม่เห็นความจำเป็นในการไปหลีกเลี่ยง ครับ

หากคิดว่าการใช้คำว่า "ผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม"
จะไม่ทำให้เกิดการตีความทางกฎหมายไปถึงคำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ในบทนิยาม ผมก็ไม่ขัดข้องครับ

>
> 2. เพิ่มคำว่า ทุกคน เพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ
> (กรณีนี้ผมยังไม่เข้าใจว่าเจตนาและเหตุผลของฉบับภาษาอังกฤษ ในการใช้คำว่า all คืออะไรแน่
> เพียงแต่เสนอให้แก้ไขให้สอดคล้องกับภาษาอังกฤษครับ
> ถ้าเรายังไม่เข้าใจชัดเจนอาจจะต้องลองสอบถาม CC ดูว่า all เป็น operative word
> ที่สำคัญใน paragraph นี้หรือไม่)
>
>
> คำว่า ทุกคน มีผลเป็นการจำกัด การระบุชื่อ ซึ่งขัดแย้งกับเจตนารมย์ของสัญญาฯ
> เพราะเมื่อใส่ไปแล้ว ผลคือ ในกรณีมีผู้รวบรวมหรือดัดแปลง หลายคน
> ผลบังคับให้ระบุชื่อผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ จะเกิดขึ้น

> ต่อเมื่อมีการระบุชื่อผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม*ทุกคน*
>

ผมเห็นด้วยครับว่าจะเป็นการจำกัด และผมก็รู้สึกขัดๆ กับคำว่า all contributing authors
ในต้นฉบับอยู่แล้วครับ เพียงแต่ว่าผมคิดว่านั่นไม่ใช่เหตุผลที่เราจะต้อง immediately dismiss
คำว่า all จากต้นฉบับ
หากแต่น่าจะเป็นเหตุผลที่เราจะหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงเจตนา/ความหมายของคำว่า all ในต้นฉบับ
แล้วดูว่าฉบับแปลได้ครอบคลุมเจตนารมย์นั้นแล้วหรือไม่

หากทางทีมงาน เข้าใจเจตนารมย์ของคำว่า all ของต้นฉบับชัดเจนดีอยู่แล้ว
และคิดว่าไม่มีความสำคัญและไม่จำเป็น ก็แล้วแต่ครับ แต่ระวังอย่าให้เป็น inadvertent
dismissal ที่ทำให้เกิดปัญหาที่หลักการสำคัญบางส่วนของ CC ตกหล่นไปก็แล้วกันครับ


> 3. แก้ไขคำว่า "ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น" เป็น
> "ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานที่นำมาใช้" เพื่อ clarify ให้ชัดว่าหมายถึง "ผู้สร้างสรรค์"
> ของงานต้นฉบับ ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนดัดแปลงหรือรวบรวมงาน
> (หากมีคำที่สวยกว่าที่ผมใช้ ก็เปลี่ยนได้เลยครับ)
>
>
> คำว่า other contributing authors ไม่ตรงกับคำที่เสนอว่า ผู้สร้างสรรค์งานที่นำมาใช้

> นะครับ แต่ตรงกับ คำว่า *ผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น*
>

คำว่า ผู้สร้างสรรค์งานที่นำมาใช้ ที่ผมใช้ ไม่ได้มาจาก other contributing authors ครับ
เป็นคำที่ผมเพิ่มขึ้นมาเอง เพื่อที่จะระบุให้ชัดว่าหมายถึงการระบุชื่อของ "ผู้สร้างสรรค์" ในบทนิยาม

จากข้อความเดิมของคุณ PH ผมเห็นว่าคำว่า "ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ
ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น" อาจมีคนตีความเป็นอย่างอื่นนอกเหนือจาก "ผู้สร้างสรรค์"
ในบทนิยาม ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมย์ของเราครับ

> 4. เพิ่มคำว่า "เป็นส่วนหนึ่งของการระบุชื่อนั้น" เพื่อให้ตรงกับข้อความภาษาอังกฤษว่า "then as
> part of these credits"
>
>
> ไม่มีคำที่ว่า ความหมายก็เหมือนเดิม ครับ
>

การบังคับว่า ถ้ามีการระบุชื่อผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม ต้องระบุชื่อ "ผู้สร้างสรรค์"
งานต้นฉบับด้วย ตามข้อความของคุณ PH ไม่ได้บังคับว่า credit ทั้งสองส่วนจะต้องอยู่ด้วยกัน
(หมายความว่า ผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม อาจจะเขียน credit
ของตัวเองไว้แห่งหนึ่ง และเขียน credit ของ original author ไว้อีกแห่งหนึ่งได้ด้วย)
ผมเข้าใจว่าเจตนารมย์ของฉบับภาษาอังกฤษคือ บังคับว่าให้ credit ของ original author
อยู่ในที่เดียวกับ credit ของผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม
เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่นำงานนั้นไปใช้ อ่าน credit ของผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม
แต่ไม่ได้อ่าน credit ของ original author (เพราะอยู่คนละที่ได้ เช่น หากเป็นหนังสือ
ก็อาจจะแยกกันอยู่ด้านหน้า หรือด้านหลัง ซึ่งแม้ "ความโดดเด่น" จะพอ ๆ กันได้
แต่คนอ่านก็อาจจะไม่ได้อ่านทั้งสองแห่ง) จึงเข้าใจผิดว่างานนั้นเป็นงานต้นฉบับ
และไม่ทราบว่าเป็นงานดัดแปลงหรือรวบรวมจากคนอื่นครับ

แต่ตรงนี้เป็น minor detail หากคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ ก็ตามสบายครับ


นวนรรน


>
> นวนรรน

PH

unread,
Feb 22, 2009, 12:54:14 PM2/22/09
to cctha...@googlegroups.com, Worasete, kri...@dlo.co.th, siri...@dlo.co.th
ขอขอบคุณ
คุณนวนรรน อีกครั้งหนึ่ง นะครับ ที่ได้กรุณา ใส่ใจและละเอียดถี่ถ้วนกับ ทุกถ้อยคำ

ผมคิดว่า ความแตกต่างของการใช้คำ ตามอีเมลล่าสุด เป็น minor detail ตามที่คุณนวนรรน ว่าไว้

หลักใหญ่ๆ ภาพรวม ของสัญญาฯ  นับว่าตรงตามสาระสำคัญและเจตนารมย์ของครีเอทีฟคอมมอนส์ ทั้งสามารถบังคับได้ตามกฎหมายไทย ครับ

2009/2/23 Nawanan Theera-Ampornpunt <naw...@rama33.com>

PH

unread,
Feb 22, 2009, 1:47:03 PM2/22/09
to cctha...@googlegroups.com, Worasete, kri...@dlo.co.th, siri...@dlo.co.th
อาท,

ผมได้ตรวจสัญญาฯ ทั้ง 6 ฉบับที่อัพโหลดขึ้นไป พบว่า
ที่เป็นภาษาไทย ทุกฉบับ ต้องแก้ไขข้อความในข้อ
4.2 หรือ 4.3 หรือ 4.4 ตามพารากราฟนี้

1." การระบุชื่อตามที่ได้กำหนดในข้อ 4.2 นี้ อาจทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นงานดัดแปลงหรืองานรวบรวม ถ้ามีการระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์งานดัดแปลงหรืองานรวบรวม  อย่างน้อย ต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานนั้น ในลักษณะที่มีความโดดเด่นไม่น้อยกว่ากัน "

2.ผมทดลอง ใช้คำสั่ง edit-find ของ firefox search หา ๆ
พบว่า ยังไม่มีการเว้นวรรค หน้า -ๆ-และหลังอย่างถูกต้อง
จึงอยากให้ลองทำดู เพื่อแก้ไข

3.อื่นๆ ตามที่คุยกันมา ได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว

4.ผมได้แก้เอกสาร wiki ของสัญญาอนุญาต ทั้ง 6 ฉบับให้ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ล่าสุด

ถ้าใครมีเวลา สามารถเข้าไปตรวจดูได้ที่ http://cc.in.th/wiki/

5. เมื่อได้แก้ไข ดังที่ว่ามา และถ้าไม่มีผลการ proofread เพิ่มเติม
อีก Thai CCL ก็พร้อมสำหรับ launch event แล้วครับ


PH


2009/2/23 PH <phic...@gmail.com>

Arthit Suriyawongkul

unread,
Feb 22, 2009, 4:02:59 PM2/22/09
to cctha...@googlegroups.com, Worasete, kri...@dlo.co.th, siri...@dlo.co.th
ขอบคุณทุก ๆ คนนะครับ
ผมจะแก้ไขตามที่ได้เสนอกันมา
แล้วให้ทาง CCi อัปโหลดเพื่อให้ทุกคนดูกันอีกรอบ ตามที่อยู่เดิมนะครับ
Reply all
Reply to author
Forward
0 new messages